Category Archives: รู้ชนิด – รู้ติดตาม
กำหนดการให้วัคซีนรวม (dT) ในหญิงมีครรภ์ – นักเรียน
ข้อแนะนำในการฉีด JE Vaccine
ตารางการให้วัคซีนตามคำแนะนำของสมาคมโรคติดเชื้อในเด็ก
กำหนดการให้วัคซีนกรณี ล่าช้า ของกระทรวงสาธารณสุข
หมายเหตุ
- เด็กจะได้รับวัคซีนตามตารางนี้ครบภายในระยะเวลา 1 ปี จากนั้นให้วัคซีนต่อเนื่องตามที่กำหนดการให้วัคซีนปกติ
- วัคซีนที่ต้องให้มากกว่า 1 ครั้ง หากเด็กเคยได้รับวัคซีนมาบ้างแล้วและไม่มารับครั้งต่อไปตามกำหนดนัด ให้วัคซีนครั้งต่อไปนั้นได้ทันที่เมื่อพบเด็ก โดยไม่ต้องเริ่มตั้นครั้งที่ 1 ใหม่
* ที่มา : แผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค กองโรคป้องกันด้วยวัคซีน กรมควบคุมโรค
(ณ วันที่ 9 มกราคม 2560)
การให้วัคซีนตามแผนงาน EPI ของกระทรวงสาธารณสุข
หมายเหตุ
- วัคซีนทุกชนิดถ้าไม่สามารถเริ่มให้ตามกำหนดได้ ก็เริ่มให้ทันที่ที่พบครั้งแรก
- วัคซีนที่ต้องให้มากกว่า 1 ครั้ง หากเด็กเคยได้รับวัคซีนมาบ้างแล้ว และไม่มารับครั้งต่อไปตามกำหนดนัด ให้วัคซีนครั้งต่อไปนั้นได้ทันที่เมื่อพบเด็ก โดยไม่ต้องเริ่มต้นครั้งที่ 1 ใหม่
* ที่มา : แผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค กองโรคป้องกันด้วยวัคซีน กรมควมคุมโรค
(ณ วันที่ 9 มกราคม 2560)
วัคซีนที่มีในกลุ่มเสี่ยง
ประเภทวัคซีน
ปัจจุบันมี 4 ชนิด คือ
- วัคซีนเซลเพาะเลี้ยง
- วัคซีนไข่เป็ดฟักบริสุทธิ์
- Equine rabies immune globulin (ERIG)
- Human rabies immune globulin (HRIG)
รูปแบบวัคซีนและขนาดที่ใช้
ระยะเวลาที่ใช้
- การฉีดให้เพื่อป้องกันโรคล่วงหน้า (pre-explosure prophylaxis) ฉีดขนาด 0.5 มล. หรือ 1 มล.เข้ากล้ามเนื้อแล้วแต่ชนิดของวัคซีน หรือขนาด 0.1 มล.เข้าชั้นในหนัง ในวันที่ 0, 7, 21 (หรือ 28)
- การฉีดหลังสัมผัสโรค
– เข้ากล้ามเนื้อ ขนาด 0.5 มล. หรือ 1 มล.แล้วแต่ชนิดของวัคซีน ในวันที่ 0, 3, 7, 14 และ 28 อาจเหลือ 4 doses ได้ เพราะภูมิคุ้มกันสูงหลังรับ dose ที่ 4
– เข้าชั้นในผิวหนัง แนะนำให้ฉีดแบบ 2-2-2-0-2 หรือ 2-2-2-0-2 ใช้วัคซีน PVRV (ใช้ 0.1 มล.), PCEC (ใช้ 0.2 มล.) ในวันที่ 0, 3, 7, 14, 30
การฉีด immune globulin ต้องทดสอบการแพ้ก่อนทุกครั้ง ถ้าแพ้ ERIG ก็เปลี่ยนมาใช้ HRIG แทน
การขึ้นของภมูิคุ้มกัน
วัคซีนทางเลือกและวัคซีนรวม
ประเภทวัคซีน
- วัคซีนเชื้อตาย ได้แก่ Trivalent inactivated influenza vaccine
- และเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ (Live-attenuated influenza vaccine) ปัจจุบันประเทศไทยมีเฉพาะวัคซีนเชื้อตาย
รูปแบบวัคซีนและขนาดที่ใช้
ระยะเวลาที่ใช้
ข้อห้าม
- ในคนที่แพ้ไข่แบบรุนแรง ผู้ที่เจ็บป่วยเฉียบพลัน ผู้ที่เป็น Gillian Barre Syndrome ภายใน 6 สัปดาห์
- และผู้ที่มีอาการรุนแรงภายหลังได้รับวัคซีนครั้งที่ผ่านมา ผู้ที่ได้รับเคมีบำบัดต้องหยุดยาแล้ว 3 สัปดาห์จึงจะให้ได้
การเก็บรักษาวัคซีน :
ปฏิกิริยาที่พบ
การขึ้นของภมูิคุ้มกัน
ประเภทวัคซีน
รูปแบบวัคซีนและขนาดที่ใช้
ระยะเวลาที่ให้
- เริ่มฉีดได้ในเด็กอายุ 2 เดือน ให้ฉีด 3 ครั้ง ที่อายุ 2 เดือน 4 เดือนและ 6 เดือน
- ถ้าเริ่มฉีดในเด็ก 7-11 เดือนให้ฉีดแค่ 2 ครั้ง โดยครั้งที่ 2 ห่างจากครั้งแรก 2 เดือน
- ถ้าเริ่มฉีดตอนอายุ 1-2 ปี ให้เพียงครั้งเดียว
- เด็กที่อยู่ nursery เด็กที่ตัดม้าม เด็กที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำควรจะฉีดเป็นวัคซีนเสริม
ข้อห้าม
การเก็บรักษาวัคซีนก่อนและหลังเปิดใช้ :
ปฏิกิริยาที่พบ
การขึ้นของภมูิคุ้มกัน
ประเภทวัคซีน
รูปแบบวัคซีนและขนาดที่ใช้
PCV รูปแบบน้ำปริมาณ 0.5 มล.ต่อครั้ง ฉีดเข้าชั้นกล้ามเนื้อ
ระยะเวลาที่ให้
- PS 23 ใช้ในเด็กอายุ 2 ปีขึ้นไปที่มีภาวะเสี่ยงต่อการติดเชื้อนิวโมคอคคัส เช่นกลุ่มที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ป่วยตัดม้าม และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ให้ฉีด 2 เข็มห่างกัน 5 ปี ผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 65 ปีให้ฉีด 1 เข็ม
- PCV ให้เมื่ออายุ 2, 4, 6 เดือนและกระตุ้นเมื่ออายุ 12-15 เดือน ทั้งนี้จำนวนครั้งที่ได้รับจะขึ้นอยู่กับ
อายุที่เด็กเริ่มฉีดวัคซีน เริ่มที่อายุ 2-6 เดือนให้ 3 เข็ม เริ่มที่อายุ 7-23 ปีให้ 2 เข็ม และเริ่มที่อายุ 2 ปีให้ 1 เข็ม ยกเว้นกลุ่มเสี่ยงให้ 2 เข็ม ไม่แนะนำให้ฉีดในเด็กปกติอายุมากกว่า 5 ปี สำหรับในเด็กกลุ่มเสี่ยงอายุ 6-18 ปี สามารถให้ได้ 2 เข็มและผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี สามารถฉีดได้ 1 ครั้ง
ข้อห้าม
การเก็บรักษาวัคซีน :
ประเภทวัคซีน
รูปแบบวัคซีนและขนาดที่ใช้
- เป็นแบบน้ำให้รับประทาน ปัจจุบันมี 2 ชนิดคือ rotarix มี 1 serotype (monovalent) บรรจุ 1.5 มล.
- ส่วน rotate บรรจุในหลอดพลาสติกพร้อมให้กิน ปริมาณ 2 มล. มี 5 serotypes (pentavalent)
- สามารถให้รับประทานพร้อม OPV ได้และหลังหยอดให้กินนมได้
- ถ้าเป็นไปได้ใน dose แรกควรหยอดห่างจาก OPV ประมาณ 14 วัน แต่ถ้าไม่สะดวกสามารถให้พร้อมกันได้
- ถ้าหลังให้กินไปแล้ว เด็กอาเจียนหรือบ้วนออกมาไม่แนะนำให้กินซ้ำ
ระยะเวลาที่ให้
- Rotarix ให้ 2 ครั้งที่อายุ 2 และ 4 เดือน ส่วน rotate ให้ 3 ครั้งที่อายุ 2, 4, และ 6 เดือน
- ทั้งสองชนิดต้องให้ dose สุดท้ายภายในอายุ 8 เดือน และแต่ละ dose ห่างกันไม่น้อยกว่า 4 สัปดาห์
- ไม่ควรใช้วัคซีนสลับกันไปมา ควรใช้ของบริษัทใดบริษัทหนึ่งให้ครบ dose
ข้อห้าม
การเก็บรักษาวัคซีน :
ปฏิกิริยาที่พบ :
การขึ้นของภูมิคุ้มกัน :
ประเภทวัคซีน
รูปแบบวัคซีนและขนาดที่ใช้
ระยะเวลาที่ให้
- ในเด็กอายุ 1-12 ปี ให้ 2 เข็ม เข็มแรกฉีดเมื่ออายุ 12-18 เดือน เข็มที่ 2 ให้เมื่อ 4-6 ปีหรือมีการระบาด
- หากจะฉีดก่อนอายุ 4ปี ต้องห่างจากเข็มแรกอย่างน้อยที่สุด 3 เดือน อายุ 13 ปีขึ้นไปให้ 2 เข็ม ห่างกัน 4-8 สัปดาห์
ข้อห้าม
- ห้ามให้ในเด็กที่มีภูมิคุ้มกันผิดปกติ ผู้ที่มีเกร็ดเลือดต่ำกว่า 100,000 เซลล์/ลบ.มม.
- ผู้ที่ติดเชื้อและมีค่า CD4 น้อยกว่าร้อยละ 15 ผู้ที่รับประทานยาสเตียรอยด์
- ผู้ที่ได้ plasma หรือ immunoglobulin
- หญิงตั้งครรภ์
- ผู้ที่แพ้ neomycin, kanamycin, erythromycin แบบรุนแรง
การเก็บรักษาวัคซีน :
ปฏิกิริยาที่พบ :
การขึ้นของภูมิคุ้มกัน :
ประเภทวัคซีน
รูปแบบวัคซีนและขนาดที่ใช้
ระยะเวลาที่ให้
ข้อห้าม
การเก็บรักษาวัคซีน :
ปฏิกิริยาที่พบ :
การขึ้นของภูมิคุ้มกัน :
ประเภทวัคซีน
รูปแบบวัคซีนและขนาดที่ใช้
ระยะเวลาที่ให้
- ให้ 3 เข็ม เดือนที่ 0, 1-2 และ 6 ฉีดในเด็กผู้หญิงอายุ 11-12 ปี ใช้ได้ทั้งสองชนิด
- ส่วนในผู้ชายฉีดได้ที่อายุ 9-26 ปีใช้ชนิด quadrivalent
- คนที่มีเพศสัมพันธ์แล้วสามารถฉีดได้แต่ประสทธิภาพของวัคซีนอาจลดลง
ข้อห้าม
การเก็บรักษาวัคซีน :
ปฏิกิริยาที่พบ :
การขึ้นของภูมิคุ้มกัน :
วัคซีนพื้นฐาน (EPI)
ผลิตจากเชื้อ
ประเภทวัคซีน
รูปแบบวัคซีนและขนาดที่ใช้
- ชนิดผงแห้งที่ผลิตโดยสภากาชาดไทย (ขนาดบรรจุขวดละ 10 doses) ฉีดเข้าชั้นในหนัง ปริมาณ 0.1 มล.
- ชนิดผงแห้ง ของบริษัท Serum Institute of India (SII) (ขนาดบรรจุขวดละ 20 doses) ฉีดเข้าชั้นในหนัง ปริมาณ 0.05 มล. ในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี และครั้งละ 0.1 มล.ในเด็กที่อายุ 1 ปีขึ้นไป
ระยะเวลาที่ใช้
- ฉีดให้ทารกแรกเกิดทุกรายก่อนออกจากโรงพยาบาลรวมทั้งทารกที่เกิดจากมารดาที่ติดเชื้อ HIV และไม่มีอาการ
- หากมีบันทึกว่าเคยได้รับมาแล้ว ไม่ต้องให้ซ้ำถึงแม้ว่าจะตรวจไม่พบแผลเป็นบริเวณที่ได้รับวัคซีน (BCG Scar)
- ในกรณีที่ไม่ได้รับเมื่อแรกเกิด สามารถให้ได้ทันทีทุกช่วงอายุเมื่อพบ
ข้อห้าม
- หญิงตั้งครรภ์
- ผู้ที่มีภาวะเจ็บป่วยเฉียบพลัน
- ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องจากภาวะโรคต่างๆที่ไม่ใช่จากการติดเชื้อ HIV ผู้ที่รับประทานยากดภูมิคุ้มกัน รวมถึงได้รับรังสีรักษา/เคมีบำบัด
- ห้ามฉีดที่ผิวหนังที่เป็นแผลติดเชื้อหรือแผลไฟไหม้
การเก็บรักษาวัคซีนก่อนและหลังเปิดใช้ :
- ก่อนเปิดใช้ : วัคซีนผงแห้ง แช่ในช่องแช่แข็งหรือที่อุณหภูมิ +2ถึง +8 องศาเซลเซียสได้ ไม่ให้ถูกแสง น้ำยาทำละลายเก็บได้ที่อุณหภูมิ +2ถึง +8 องศาเซลเซียส เท่านั้นหากนำไปเก็บไว้ในช่องแช่แข็งอาจแตกได้
- ขณะใช้ : หากพบว่าตัวทำละลายแตก สามารถใช้ sterile water หรือ normal saline ผสมแทนได้ ให้อ่านฉลากว่าของบริษัทไหนใช้ตัวทำละลายแบบไหน
- หลังใช้ : วัคซีนของสภากาชาดไทย ผสมแล้วควรใช้ให้หมดภายใน 2 ชั่วโมง และของ SII ควรใช้ให้หมดภายใน 6 ชั่วโมง ระหว่างการใช้ต้องเก็บให้พ้นแสงและรักษาอุณหภูมิ+2ถึง +8 องศาเซลเซียส
ปฏิกิริยาที่พบ
การขึ้นของภมูิคุ้มกัน
ประเภทวัคซีน
รูปแบบวัคซีนและขนาดที่ใช้
ระยะเวลาที่ให้
ข้อห้าม : ห้ามให้ในผู้ที่มีอาการแพ้รุนแรงต่อส่วนประกอบของวัคซีน
ข้อห้าม
การเก็บรักษาวัคซีนก่อนและหลังเปิดใช้ :
- ก่อนเปิดใช้ : วัคซีนชนิดน้ำ แช่ในอุณหภูมิ +2ถึง +8 องศาเซลเซียส วัคซีนชนิดนี้เสื่มสภาพได้เร็วมากเมื่อสัมผัสความเย็นจัด
- หลังใช้ : เปิดใช้แล้วเก็บไว้ได้ไม่เกิน 8 ชั่วโมง รักษาอุณหภูมิ+2ถึง +8 องศาเซลเซียส
ปฏิกิริยาที่พบ
การขึ้นของภมูิคุ้มกัน
- ในเด็กปกติหลังจากได้รับวัคซีนครบ 3 doses จะเกิดภูมิคุ้มกันได้ร้อยละ 95 แต่ภุมิคุ้มกันโรคจะสูงในระดับที่ป้องกันโรคได้นั้นเกิดหลังจากได้รับครั้งที่ 2 ส่วนการให้ครั้งที่ 3 ถือเป็นการกระตุ้นให้ภูมิสูงถึงร้อยละ 95ในเด็กที่มีแม่เป็นพาหะหรือมี HBsAg เป็นบวก ควรให้วัคซีนให้เร็วที่สุดภายใน 12 ชั่วโมง และถ้ามี HBIG (อิมมนูโนโกลบูลิน) ก็ควรให้ภายใน 12 ชั่วโมงจะช่วยป้องกันการติดเชื้อได้ถึงร้อยละ 98 การให้ HBIG ในทารกแรกเกิดที่น้ำหนักมากกว่าหรือเท่ากับ 2000 กรัม สามารถรอถึง 7 วันได้ แต่ในทารกน้ำหนักน้อยกว่า 2000 กรัมควรได้รับภายใน 12 ชั่วโมง
- ในเด็กที่แม่เป็นพาหะหรือ HBsAg เป็นบวก เมื่อได้รับวัคซีนครบ 3 doses เด็กทุกรายควรมาตรวจหา Anti-HBs และ HBsAg ที่อายุ 9-18 เดือน หากพบว่า Anti-HBs น้อยกว่า 10 mIU/ml. (non-responder) ควรให้ซ้ำอีก 3 doses และตรวจภูมิคุ้มกันซ้ำอีกหลังจากนั้น 1-2 เดือน ถ้าพบว่าน้อยกว่าระดับที่ควรจะเป็น จะไม่พิจารณาฉีดซ้ำอีก
- อีกกรณีหนึ่งคือ คนที่ได้รับวัคซีนครบ 3 doses แต่มีการสัมผัสโรคและเกิดความเสี่ยงสูง โดยทั่วไปจะให้ฉีดกระตุ้นอีก 1 ครั้ง หรือแนะนำให้ตรวจหา Anti-HBs ก่อน หากพบว่าอยู่ในกลุ่ม non responder จะให้ฉีดกระตุ้นอีก 1 ครั้ง และนัดมาตรวจภูมิคุ้มกันซ้ำอีกหลังจากนั้น 1-2 เดือน ถ้าภูมิคุ้มกันขึ้นแสดงว่าเป็นกลุ่มที่ภูมิลดต่ำตามกาลเวลาไม่ใช่ non responder แต่ถ้าไม่ขึ้นก็ต้องฉีดให้ครบ 3 ครั้ง แล้วตรวจภูมิคุ้มกันอีกครั้ง
ประเภทวัคซีน
รูปแบบวัคซีนและขนาดที่ใช้
ระยะเวลาที่ใช้
ข้อห้าม
- ห้ามให้ในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 สัปดาห์ หรือในเด็กที่มีอายุมากกว่า 7 ปีและผู้ใหญ่
- เด็กที่กำลังเจ็บป่วยหรือกำลังมีไข้สูง
- สำหรับการได้รับไอกรน ทั้งแบบ whole cell (DTwP-HB) และ acellular (DTaP-HB) ห้ามให้ในผู้ที่มีอาการทางสมองหรือมีโรคทางสมอง เพราะจะไปกระตุ้นอาการให้เลวลงและกระตุ้นอาการชักได้
การเก็บรักษาวัคซีนก่อนและหลังเปิดใช้ :
- ก่อนเปิดใช้ : วัคซีนชนิดน้ำ แช่ในอุณหภูมิ +2ถึง +8 องศาเซลเซียส วัคซีนชนิดนี้เสื่อมสภาพได้เร็วมากเมื่อสัมผัสความเย็นจัดเนื่องจากมีส่วนผสมของ HBV
- หลังใช้ : เปิดใช้แล้วเก็บไว้ได้ไม่เกิน 8 ชั่วโมง รักษาอุณหภูมิ+2ถึง +8 องศาเซลเซียส
ปฏิกิริยาที่พบ
การขึ้นของภมูิคุ้มกัน
ประเภทวัคซีน
รูปแบบวัคซีนและขนาดที่ใช้
- วัคซีนบาดทะยัก (Tetanus toxoid)
- วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก มี 2 แบบคือ DT, dT
- วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนชนิดทั้งเซลล์ (DTwP)
- วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนชนิดไร้เซลล์ (DTaP)
- วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนชนิดไร้เซลล์ (Tdap) สำหรับเด็กโตและผู้ใหญ่ เป็นวัคซีนแบบน้ำ ใช้ฉีดเข้าชั้นกล้ามเนื้อครั้งละ 0.5 มล.
ระยะเวลาที่ใช้
หากจะใช้ Tdap ใช้แทนเข็มกระตุ้นครั้งที่ 2 หรือในอายุ 4-6 ปีได้
dT ใช้กระตุ้นทุก 10 ปี ในเด็ก ป.6 ทุกคนและผู้ใหญ่
การให้ dTในหญิงตั้งครรภ์
- หากไม่มีประวัติว่าได้รับวัคซีนที่มีส่วนประกอบของบาดทะยักมาก่อน ให้ฉีด dT 3 เข็ม โดยให้ฉีดเมื่อมาฝากครรภ์ทันทีถึงช่วง 36 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ ระยะห่าง 0,1,6 เดือน (เข็มที่ 2 ห่างจากเข็มที่ 1 เป็นเวลา 1 เดือน และเข็มที่ 3 ห่างจากเข็มที่ 2 เป็นเวลา 6 เดือน)
- หากเคยได้รับมาแล้ว 1 เข็มนานเท่าไรก็ตามให้ฉีดอีก 2 เข็ม โดยเข็มที่จะเริ่มให้ต้องห่างจากเข็มที่เคยฉีดมาแล้วอย่างน้อย 1 เดือน ใช้ในกรณีเดียวกับคนที่เคยบอกว่าได้รับแต่จำประวัติไม่ได้ว่าได้มากี่เข็ม ให้ถือว่าได้มา 1 เข็มก็ฉีดเพิ่มให้อีก 2 เข็ม
- หากเคยได้รับมาแล้ว 2 เข็มนานเท่าไรก็ตาม ให้ฉีดอีก 1 เข็ม โดยเข็มที่จะฉีดให้ต้องห่างจากที่เคยฉีดครั้งล่าสุดอย่างน้อย 6 เดือน
- หากได้มาแล้ว 3 เข็มนานเกิน 10 ปี ฉีดกระตุ้นให้อีกเพียงเข็มเดียว ถ้าไม่เกิน 10 ปี ไม่ต้องฉีดในครั้งนี้
การให้ dT กรณีเก็บตกวัคซีนที่มีส่วนประกอบของบาดทะยักในนักเรียนชั้น ป. 1
- เคยได้รับมาครบ 5 ครั้ง ไม่ต้องฉีดให้
- ไม่เคยได้มาก่อนเลย ต้องได้รับ 3 ครั้ง (ตอน ป.1 ให้ 2 ครั้ง ห่างกัน 1 เดือน และครั้งที่ 3 ให้ตอนอยู่ ป.2 โดยต้องห่างจากเข็มที่ 2 ใน ป.1 อย่างน้อย 6 เดือน)
- เคยได้มา 1 ครั้ง (ตอน ป.1 ให้ 1 ครั้ง และให้ตอนอยู่ ป.2 โดยต้องห่างจากที่ให้ตอน ป.1 อย่างน้อย 6 เดือน)
- เคยได้มา 2,3, 4 ครั้ง ให้เก็บตกตอน ป.1 เพียงครั้งเดียว
ข้อห้าม
- คนที่เคยมีอาการ anaphylaxis หลังจากได้รับวัคซีนกลุ่มนี้ และเกิดอาการทางสมอง
- เด็กที่มีแนวโน้มจะชักหรือมีประวัติชักให้ใช้ DTaP แทน DTwP
การเก็บรักษาวัคซีนก่อนและหลังเปิดใช้ :
- ก่อนเปิดใช้ : วัคซีนชนิดน้ำ แช่ในอุณหภูมิ +2ถึง +8 องศาเซลเซียส
- หลังใช้ : เปิดใช้แล้วเก็บไว้ได้ไม่เกิน 8 ชั่วโมง รักษาอุณหภูมิ+2ถึง +8 องศาเซลเซียส
ปฏิกิริยาที่พบ
การขึ้นของภมูิคุ้มกัน
ประเภทวัคซีน
รูปแบบวัคซีนและขนาดที่ใช้
- MMR ชนิดผงแห้ง ผสมน้ำยาทำละลาย 0.5 มล. ชนิด 1 dose ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง
- MR ชนิดผงแห้งขวดละ 10 doses ผสมน้ำยาทำละลาย 5 มล. ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง
ระยะเวลาที่ใช้
ข้อห้าม
- ในหญิงตั้งครรภ์เพราะจะเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ เมื่อฉีดในหญิงวัยเจริญพันธุ์ควรคุมกำเนิดหลังจากนั้นนาน 28 วัน หรือถ้าให้ในหญิงตั้งครรภ์โดยบังเอิญก็ไม่ได้เป็นเหตุผลในการทำแท้ง
- ในคนที่แพ้ neomycin หรือ gelatin แบบ anaphylaxis
- ในเด็กที่ปลูกถ่ายไขกระดูกหรือเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ
- เด็กทิ่ติดเชื้อ HIV ที่มี CD4 น้อยกว่าร้อยละ 15 หรือมี clinical stage C
- ผู้ที่ได้รับ steroid ขนาดสูง (2mg/kg/day) มาแล้วมากกว่า 14 วัน
- ผู้ที่ได้รับเลือดหรือผลิตภัณฑ์จากเลือด
- ผู้ที่แพ้ไข่ขาวแบบรุนแรง
- ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำหรือบกพร่องอย่างมากจากโรค การรับการรักษาที่ทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำ ยกเว้นกลุ่ม B cell defect
การเก็บรักษาวัคซีนก่อนและหลังเปิดใช้ :
- ก่อนเปิดใช้ : เก็บไว้ที่อุณหภูมิ +2ถึง +8 องศาเซลเซียส ให้พ้นแสง น้ำยาทำละลายสามารถเก็บที่อุณหภูมิห้องได้ แต่เมื่อจะนำไปใช้ต้องทำให้ตัวทำละลายมีอุณหภูมิ +2ถึง +8 องศาเซลเซียสโดยการนำมาแช่ตู้เย็นอย่างน้อย 1 วัน
- เปิดใช้แล้ว : เก็บไว้ที่อุณหภูมิ +2ถึง +8 องศาเซลเซียส ให้พ้นแสง ได้ไม่เกิน 6 ชั่วโมง
ปฏิกิริยาที่พบ
การขึ้นของภมูิคุ้มกัน
ประเภทวัคซีน
รูปแบบวัคซีนและขนาดที่ใช้
- OPV เป็นวัคซีนแบบน้ำ ใช้หยอดทางปาก ปริมาณ 2-3 หยด ขนาดบรรจุ 10 หรือ 20 doses/ขวด
- IPV เป็นวัคซีนแบบน้ำ ใช้ฉีดเข้าชั้นกล้ามเนื้อปริมาณ 0.5 มล. ขนาดบรรจุ 1 หรือ 10 doses/ ขวด นอกจากนี้ IPV ยังอยู่ในรูปแบบของวัคซีนรวมอีกด้วย
ระยะเวลาที่ใช้
ข้อห้าม
- ห้ามหยอด OPV ในคนที่มีภูมิคุ้มกันต่ำจากโรค จากยาและการรักษาต่างๆ หรือเด็กที่มีคนในบ้านมีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ ให้ใช้ IPV แทน ห้ามหยอดในหญิงตั้งครรภ์และเด็กที่รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล ให้ใช้ IPV แทนได้
- สำหรับ IPV ห้ามให้ในคนที่มีภาวะแพ้รุนแรงต่อยาปฏิชีวนะ streptomycin, neomycin และ polymycin B
การเก็บรักษาวัคซีนก่อนและหลังเปิดใช้ :
- ก่อนเปิดใช้ : วัคซีน OPV แช่ในช่องแช่แข็ง หากนำออกมาให้บริการแต่ไม่ได้เปิดใช้งานสามารถนำกลับไปแช่ในช่องแช่แข็งซ้ำได้ 5-10 ครั้ง เมื่อเปิดใช้แล้วเก็บไว้ที่อุณหภูมิ +2 ถึง +8 องศาเซลเซียสได้ไม่เกิน 8 ชั่วโมง
- สำหรับ IPV เก็บไว้ที่อุณหภูมิ +2 ถึง +8 องศาเซลเซียส เปิดใช้แล้วเก็บไว้ที่อุณหภูมิ +2ถึง +8 องศาเซลเซียสได้ไม่เกิน 8 ชั่วโมงเช่นเดียวกัน
ปฏิกิริยาที่พบ
การขึ้นของภมูิคุ้มกัน
ประเภทวัคซีน รูปแบบวัคซีนและขนาดที่ใช้
ปัจจุบันวัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี มีใช้ทั้งชนิดเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์และเชื้อตาย มีรายละเอียด ดังนี้
- วัคซีนชนิดเชิ้อตาย (inactivated vaccine) เพาะเลี้ยงเชื้อในสมองหนู หรือเรียกกันว่า mouse brain JE มี 2 สายพันธุ์คือ Nagayama ขนาดบรรจุ 1 มล.ต่อขวด ใช้ 0.5 มล.ต่อ dose ในเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี และใช้ปริมาณ 1 มล./dose ในเด็กอายุมากกว่า 3 ปี และสายพันธุ์ Bejing ผลิตโดยองค์การเภสัชกรรมขนาดบรรจุ 0.5 มล.ต่อขวด ใช้ 0.25 มล.ต่อ dose ในเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี และใช้ปริมาณ 0.5 มล./dose ในเด็กอายุมากกว่า 3 ปี
- วัคซีนชนิดเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ (live-attenuated vaccine) เพาะเลี้ยงใน cell เพาะเลี้ยงในหนูแฮมเตอร์ มีชื่อการค้าคือ CD JE VAX และอีกชนิดหนึ่งผลิตโดยใช้เทคนิควิศวพันธุกรรม เป็น chimeric vaccine มีชื่อการค้าว่า IMOJEV วัคซีนในกลุ่มนี้ผลิตเป็นผงแห้งและมีน้ำยาทำละลาย ใช้แบบ single dose ( ปัจจุบันมีการนำวัคซีน JE เชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ที่มีชื่อทางการค้าว่า THAIJEV ซึ่งมีขนาดบรรจุ 2cc เมื่อผสมแล้วใช้ได้ 4 doses )
ระยะเวลาที่ให้
ส่วนวัคซีนเชื้อเป็นให้ 2 ครั้ง ที่อายุ 1 ปี และ 2 ปีครึ่ง (ให้ห่างกันอย่างน้อย 3-12 เดือน)
ข้อห้าม
การเก็บรักษาวัคซีนก่อนและหลังเปิดใช้ :
- เก็บไว้ที่อุณหภูมิ +2ถึง +8 องศาเซลเซียส ให้พ้นแสง ในเชื้อเป็นที่มีน้ำยาทำละลายสามารถเก็บที่อุณหภูมิห้องได้
- แต่เมื่อจะนำไปใช้ต้องทำให้ตัวทำละลายมีอุณหภูมิ +2ถึง +8 องศาเซลเซียสโดยการนำมาแช่ตู้เย็นอย่างน้อย 1 วัน เปิดใช้แล้วเก็บไว้ได้ 8 ชั่วโมง
ปฏิกิริยาที่พบ
การขึ้นของภมูิคุ้มกัน
ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับการให้วัคซีน JE
เนื่องจากปัจจุบันบางพื้นที่อยู่ในระยะเปลี่ยนผ่านของการใช้วัคซีนชนิดเชื้อตายมาเป็นชนิดเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ ทำให้บางครั้งมีการให้วัควีนทั้งสองกลุ่มในผู้รับบริการคนเดียวกัน โดยมีหลักการ ดังนี้
- หากเริ่มเข็มแรกด้วยวัคซีนเชื้อตาย และจะมาฉีดต่อด้วยเชื้อเป็น สามารถทำได้ โดยให้ได้รับเชื้อเป็นอีก 2 ครั้งห่างกัน 3-12 เดือน
- หากเริ่มด้วยวัคซีนเชื้อเป็น จะมาต่อด้วยวัคซีนเชื้อตายก็สามารถทำได้ โดยฉีดอีก 1 เข็มเท่านั้นโดยต้องห่างจากครั้งแรก 6-12 เดือน
กลุ่มวัคซีนที่ควรรู้
การให้วัคซีนหรือการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคมีเป้าหมายหลักในการจัดการกับโรคติดต่อ ทั้งเรื่องของการป้องกัน การควบคุมโรค การกำจัด และการกวาดล้าง ซึ่งปัจจุบันมีวัคซีนที่ใช้ในประเทศไทยมากมายหลายชนิด แบ่งเป็น 3 กลุ่มหลักๆ ดังนี้
วัคซีนพื้นฐานตามแผนงานการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค(EPI) 8 ชนิดที่ป้องกันได้ 10 โรค ได้แก่
วัคซีนบีซีจี วัคซีนตับอักเสบบี วัคซีนโปลิโอชนิดกินและฉีด วัคซีนคอตีบ-ไอกรน-บาดทะยัก วัคซีนรวมคอตีบ-ไอกรน-บาดทะยัก-ตับอักเสบบี วัคซีนตอตีบ-บาดทะยัก วัคซีนหัด-หัดเยอรมัน-คางทูม และวัคซีนไข้สมองอักเสบเจอีชนิดเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์และเชื้อตาย
วัคซีนทางเลือก และวัคซีนรวม ได้แก่
วัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนโรต้า วัคซีนตับอักเสบเอ วัคซีนอีสุกอีใส วัคซีนฮิบ วัคซีนนิวโมคอคคัส วัคซีนเอชพีวี วัคซีนรวมป้องกันโรค 4-6 โรคชนิดเข็มเดียว
นอกจากนี้ยังมีวัคซีนชนิดพิเศษที่มีข้อบ่งใช้ในกลุ่มเสี่ยง เช่น
วัคซีนพิษสุนัขบ้า
สำหรับคนทำงานวัคซีนแล้ว จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในวัคซีนกลุ่มวัคซีนพื้นฐานเป็นอย่างดีก่อน ในบทเรียนนี้จะมีรายละเอียดที่จำเป็นเกี่ยวกับวัคซีนแต่ละชนิดที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน และสามารถพบได้ในสถานพยาบาลและโรงพยาบาลต่างๆ รวมทั้งกล่าวถึงตารางแผนงานการให้วัคซีนพื้นฐาน และการจัดการเมื่อพบว่าผู้รับบริการมารับวัคซีนล่าช้า