วัคซีนพื้นฐาน (EPI)
อ่าน 58969 ครั้ง

ชื่อวัคซีน:บีซีจี (BCG)

VACCINE_BCG

ผลิตจากเชื้อ
Mycobacterium Bovis สายพันธุ์ Bacilus Calmette Guerin (BCG)
ประเภทวัคซีน
เชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์
รูปแบบวัคซีนและขนาดที่ใช้
  1. ชนิดผงแห้งที่ผลิตโดยสภากาชาดไทย (ขนาดบรรจุขวดละ 10 doses) ฉีดเข้าชั้นในหนัง ปริมาณ 0.1 มล.
  2. ชนิดผงแห้ง ของบริษัท Serum Institute of India (SII) (ขนาดบรรจุขวดละ 20 doses) ฉีดเข้าชั้นในหนัง ปริมาณ 0.05 มล. ในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี และครั้งละ 0.1 มล.ในเด็กที่อายุ 1 ปีขึ้นไป
ระยะเวลาที่ใช้
ให้เพียงครั้งเดียว
  • ฉีดให้ทารกแรกเกิดทุกรายก่อนออกจากโรงพยาบาลรวมทั้งทารกที่เกิดจากมารดาที่ติดเชื้อ HIV และไม่มีอาการ
  • หากมีบันทึกว่าเคยได้รับมาแล้ว ไม่ต้องให้ซ้ำถึงแม้ว่าจะตรวจไม่พบแผลเป็นบริเวณที่ได้รับวัคซีน (BCG Scar)
  • ในกรณีที่ไม่ได้รับเมื่อแรกเกิด สามารถให้ได้ทันทีทุกช่วงอายุเมื่อพบ
ข้อห้าม
ห้ามให้ใน…..
  • หญิงตั้งครรภ์
  • ผู้ที่มีภาวะเจ็บป่วยเฉียบพลัน
  • ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องจากภาวะโรคต่างๆที่ไม่ใช่จากการติดเชื้อ HIV ผู้ที่รับประทานยากดภูมิคุ้มกัน รวมถึงได้รับรังสีรักษา/เคมีบำบัด
  • ห้ามฉีดที่ผิวหนังที่เป็นแผลติดเชื้อหรือแผลไฟไหม้
การเก็บรักษาวัคซีนก่อนและหลังเปิดใช้ :
  • ก่อนเปิดใช้ : วัคซีนผงแห้ง แช่ในช่องแช่แข็งหรือที่อุณหภูมิ +2ถึง +8 องศาเซลเซียสได้ ไม่ให้ถูกแสง น้ำยาทำละลายเก็บได้ที่อุณหภูมิ +2ถึง +8 องศาเซลเซียส เท่านั้นหากนำไปเก็บไว้ในช่องแช่แข็งอาจแตกได้
  • ขณะใช้ : หากพบว่าตัวทำละลายแตก สามารถใช้ sterile water หรือ normal saline ผสมแทนได้ ให้อ่านฉลากว่าของบริษัทไหนใช้ตัวทำละลายแบบไหน
  • หลังใช้ : วัคซีนของสภากาชาดไทย ผสมแล้วควรใช้ให้หมดภายใน 2 ชั่วโมง และของ SII ควรใช้ให้หมดภายใน 6 ชั่วโมง ระหว่างการใช้ต้องเก็บให้พ้นแสงและรักษาอุณหภูมิ+2ถึง +8 องศาเซลเซียส
ปฏิกิริยาที่พบ
2-3 สัปดาห์หลังฉีด จะเกิดตุ่มแดงกลายเป็นฝีหนองเล็กๆและแตกออกในเวลาต่อมา แผลจะเป็นอยู่ประมาณ 3-4 สัปดาห์ก็จะแห้งเป็นรอยแผลเป็น
การขึ้นของภมูิคุ้มกัน
ประมาณ 2เดือนหลังได้รับวัคซีนป้องกันการเกิดวัณโรคมีประสิทธิภาพป้องกันวัณโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบและวัณโรค ชนิด military ได้ร้อยละ 52-100 แต่ประสิทธิภาพในการป้องกันวัณโรคปอดยังไม่แน่นอน
ชื่อวัคซีน: ตับอักเสบบี (HBV)

VACCINE_HBV

ประเภทวัคซีน
ไวรัสเชื้อตาย (recombinant DNA vaccine จากยีสต์)
รูปแบบวัคซีนและขนาดที่ใช้
เป็นวัคซีนแบบน้ำ มีทั้งชนิดเดี่ยว 1 มล./ขวด ใช้ฉีดเข้าชั้นกล้ามเนื้อครั้งละ 0.5 มล.ในเด็ก และ 1 มล.ในผู้ใหญ่ และชนิดรวมกับวัคซีนอื่น สามารถใช้ทดแทนกันได้ทุกชนิด
ระยะเวลาที่ให้
3 ครั้ง เมื่อแรกเกิด ช่วงอายุ 1-2 เดือน และ อายุ 6 เดือน ปัจจุบันตามแผนงาน EPI จะผสมในวัคซีนรวมคอตีบ-ไอกรน-บาดทะยัก-ตับอักเสบบี ให้เมื่ออายุ 2 4 และ 6 เดือน ดังนั้นจะพบว่าเด็กจะได้รับประมาณ 4 ครั้งรวมที่ได้รับเป็นวัคซีนเดี่ยวตอนแรกเกิด สำหรับผู้ที่มารดาเป็นพาหะหรือ HBsAg เป็นบวกให้ฉีดวัคซีนและให้ HBIG ภายใน 12 ชั่วโมง โดยไม่นับการฉีดวัคซีนครั้งนี้ว่าเป็นเข็มที่ 1 ให้นัดมารับตอนทารกอายุ 1 เดือนและเริ่มนับเข็มที่ 1
ข้อห้าม : ห้ามให้ในผู้ที่มีอาการแพ้รุนแรงต่อส่วนประกอบของวัคซีน
ข้อห้าม
ห้ามให้ในผู้ที่มีอาการแพ้รุนแรงต่อส่วนประกอบของวัคซีน
การเก็บรักษาวัคซีนก่อนและหลังเปิดใช้ :
  • ก่อนเปิดใช้ : วัคซีนชนิดน้ำ แช่ในอุณหภูมิ +2ถึง +8 องศาเซลเซียส วัคซีนชนิดนี้เสื่มสภาพได้เร็วมากเมื่อสัมผัสความเย็นจัด
  • หลังใช้ : เปิดใช้แล้วเก็บไว้ได้ไม่เกิน 8 ชั่วโมง รักษาอุณหภูมิ+2ถึง +8 องศาเซลเซียส
ปฏิกิริยาที่พบ
ปวด บวม แดงเฉพาะที่และไข้ไม่รุนแรง
การขึ้นของภมูิคุ้มกัน
  • ในเด็กปกติหลังจากได้รับวัคซีนครบ 3 doses จะเกิดภูมิคุ้มกันได้ร้อยละ 95 แต่ภุมิคุ้มกันโรคจะสูงในระดับที่ป้องกันโรคได้นั้นเกิดหลังจากได้รับครั้งที่ 2 ส่วนการให้ครั้งที่ 3 ถือเป็นการกระตุ้นให้ภูมิสูงถึงร้อยละ 95ในเด็กที่มีแม่เป็นพาหะหรือมี HBsAg เป็นบวก ควรให้วัคซีนให้เร็วที่สุดภายใน 12 ชั่วโมง และถ้ามี HBIG (อิมมนูโนโกลบูลิน) ก็ควรให้ภายใน 12 ชั่วโมงจะช่วยป้องกันการติดเชื้อได้ถึงร้อยละ 98 การให้ HBIG ในทารกแรกเกิดที่น้ำหนักมากกว่าหรือเท่ากับ 2000 กรัม สามารถรอถึง 7 วันได้ แต่ในทารกน้ำหนักน้อยกว่า 2000 กรัมควรได้รับภายใน 12 ชั่วโมง
  • ในเด็กที่แม่เป็นพาหะหรือ HBsAg เป็นบวก เมื่อได้รับวัคซีนครบ 3 doses เด็กทุกรายควรมาตรวจหา Anti-HBs และ HBsAg ที่อายุ 9-18 เดือน หากพบว่า Anti-HBs น้อยกว่า 10 mIU/ml. (non-responder) ควรให้ซ้ำอีก 3 doses และตรวจภูมิคุ้มกันซ้ำอีกหลังจากนั้น 1-2 เดือน ถ้าพบว่าน้อยกว่าระดับที่ควรจะเป็น จะไม่พิจารณาฉีดซ้ำอีก
  • อีกกรณีหนึ่งคือ คนที่ได้รับวัคซีนครบ 3 doses แต่มีการสัมผัสโรคและเกิดความเสี่ยงสูง โดยทั่วไปจะให้ฉีดกระตุ้นอีก 1 ครั้ง หรือแนะนำให้ตรวจหา Anti-HBs ก่อน หากพบว่าอยู่ในกลุ่ม non responder จะให้ฉีดกระตุ้นอีก 1 ครั้ง และนัดมาตรวจภูมิคุ้มกันซ้ำอีกหลังจากนั้น 1-2 เดือน ถ้าภูมิคุ้มกันขึ้นแสดงว่าเป็นกลุ่มที่ภูมิลดต่ำตามกาลเวลาไม่ใช่ non responder แต่ถ้าไม่ขึ้นก็ต้องฉีดให้ครบ 3 ครั้ง แล้วตรวจภูมิคุ้มกันอีกครั้ง
ชื่อวัคซีน: คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ตับอักเสบบี (DTwP-HB)

VACCINE_DTP_HB

ประเภทวัคซีน
ท็อกซอยด์ แบคทีเรียและไวรัสเชื้อตาย
รูปแบบวัคซีนและขนาดที่ใช้
เป็นวัคซีนแบบน้ำ ขนาดบรรจุ 5 มล./ขวด ใช้ฉีดเข้าชั้นกล้ามเนื้อครั้งละ 0.5 มล.
ระยะเวลาที่ใช้
3 ครั้ง เมื่ออายุ 2 เดือน 4 เดือน และ 6 เดือน
ข้อห้าม
ห้ามให้ใน…..
  • ห้ามให้ในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 สัปดาห์ หรือในเด็กที่มีอายุมากกว่า 7 ปีและผู้ใหญ่
  • เด็กที่กำลังเจ็บป่วยหรือกำลังมีไข้สูง
  • สำหรับการได้รับไอกรน ทั้งแบบ whole cell (DTwP-HB) และ acellular (DTaP-HB) ห้ามให้ในผู้ที่มีอาการทางสมองหรือมีโรคทางสมอง เพราะจะไปกระตุ้นอาการให้เลวลงและกระตุ้นอาการชักได้
การเก็บรักษาวัคซีนก่อนและหลังเปิดใช้ :
  • ก่อนเปิดใช้ : วัคซีนชนิดน้ำ แช่ในอุณหภูมิ +2ถึง +8 องศาเซลเซียส วัคซีนชนิดนี้เสื่อมสภาพได้เร็วมากเมื่อสัมผัสความเย็นจัดเนื่องจากมีส่วนผสมของ HBV
  • หลังใช้ : เปิดใช้แล้วเก็บไว้ได้ไม่เกิน 8 ชั่วโมง รักษาอุณหภูมิ+2ถึง +8 องศาเซลเซียส
ปฏิกิริยาที่พบ
ปวด บวม แดงเฉพาะที่ อาจเกิด systemic reaction เช่น ไข้ ชัก ซึม ตัวอ่อนปวกเปียกไม่ตอบสนอง (HHE) ปฏิกิริยาแพ้ anaphylaxis และ arthus like reaction (บวม ปวม แดงลามมาถึงข้อศอก) เกิดจากการได้รับบาดทะยักมากเกินไป
การขึ้นของภมูิคุ้มกัน
ภูมิคุ้มกันต่อคอตีบและบาดทะยักจะเกิดขึ้นหลังได้รับวัคซีนเข็มแรก 2 สัปดาห์และเมื่อได้รับครบตามกำหนด ภูมิคุ้มกันต่อคอตีบและบาดทะยักจะอยู่ได้นาน 10 ปี ส่วนประสิทธิภาพในการป้องกันไอกรนนั้นมีอยู่ร้อยละ 75-90 ส่วนโรคตับอักเสบบีจะเกิดเช่นเดียวกับวัคซีนตับอักเสบบี
ชื่อวัคซีน: คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน

VACCINE_DTP

ประเภทวัคซีน
ท็อกซอยด์ และแบคทีเรียเชื้อตาย
รูปแบบวัคซีนและขนาดที่ใช้
มีทั้งหมด 5 รูปแบบ คือ
  • วัคซีนบาดทะยัก (Tetanus toxoid)
  • วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก มี 2 แบบคือ DT, dT
  • วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนชนิดทั้งเซลล์ (DTwP)
  • วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนชนิดไร้เซลล์ (DTaP)
  • วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนชนิดไร้เซลล์ (Tdap) สำหรับเด็กโตและผู้ใหญ่ เป็นวัคซีนแบบน้ำ ใช้ฉีดเข้าชั้นกล้ามเนื้อครั้งละ 0.5 มล.
ระยะเวลาที่ใช้
สำหรับ DTwP และ DTaP ใช้ฉีดกระตุ้น 2 ครั้ง เมื่ออายุ 18 เดือน และ 4 ปี
หากจะใช้ Tdap ใช้แทนเข็มกระตุ้นครั้งที่ 2 หรือในอายุ 4-6 ปีได้
dT ใช้กระตุ้นทุก 10 ปี ในเด็ก ป.6 ทุกคนและผู้ใหญ่
การให้ dTในหญิงตั้งครรภ์

    • หากไม่มีประวัติว่าได้รับวัคซีนที่มีส่วนประกอบของบาดทะยักมาก่อน ให้ฉีด dT 3 เข็ม โดยให้ฉีดเมื่อมาฝากครรภ์ทันทีถึงช่วง 36 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ ระยะห่าง 0,1,6 เดือน (เข็มที่ 2 ห่างจากเข็มที่ 1 เป็นเวลา 1 เดือน และเข็มที่ 3 ห่างจากเข็มที่ 2 เป็นเวลา 6 เดือน)
    • หากเคยได้รับมาแล้ว 1 เข็มนานเท่าไรก็ตามให้ฉีดอีก 2 เข็ม โดยเข็มที่จะเริ่มให้ต้องห่างจากเข็มที่เคยฉีดมาแล้วอย่างน้อย 1 เดือน ใช้ในกรณีเดียวกับคนที่เคยบอกว่าได้รับแต่จำประวัติไม่ได้ว่าได้มากี่เข็ม ให้ถือว่าได้มา 1 เข็มก็ฉีดเพิ่มให้อีก 2 เข็ม
    • หากเคยได้รับมาแล้ว 2 เข็มนานเท่าไรก็ตาม ให้ฉีดอีก 1 เข็ม โดยเข็มที่จะฉีดให้ต้องห่างจากที่เคยฉีดครั้งล่าสุดอย่างน้อย 6 เดือน
    • หากได้มาแล้ว 3 เข็มนานเกิน 10 ปี ฉีดกระตุ้นให้อีกเพียงเข็มเดียว ถ้าไม่เกิน 10 ปี ไม่ต้องฉีดในครั้งนี้

การให้ dT กรณีเก็บตกวัคซีนที่มีส่วนประกอบของบาดทะยักในนักเรียนชั้น ป. 1

      • เคยได้รับมาครบ 5 ครั้ง ไม่ต้องฉีดให้
      • ไม่เคยได้มาก่อนเลย ต้องได้รับ 3 ครั้ง (ตอน ป.1 ให้ 2 ครั้ง ห่างกัน 1 เดือน และครั้งที่ 3 ให้ตอนอยู่ ป.2 โดยต้องห่างจากเข็มที่ 2 ใน ป.1 อย่างน้อย 6 เดือน)
      • เคยได้มา 1 ครั้ง (ตอน ป.1 ให้ 1 ครั้ง และให้ตอนอยู่ ป.2 โดยต้องห่างจากที่ให้ตอน ป.1 อย่างน้อย 6 เดือน)
      • เคยได้มา 2,3, 4 ครั้ง ให้เก็บตกตอน ป.1 เพียงครั้งเดียว
ข้อห้าม
ห้ามให้ใน…..
  • คนที่เคยมีอาการ anaphylaxis หลังจากได้รับวัคซีนกลุ่มนี้ และเกิดอาการทางสมอง
  • เด็กที่มีแนวโน้มจะชักหรือมีประวัติชักให้ใช้ DTaP แทน DTwP
การเก็บรักษาวัคซีนก่อนและหลังเปิดใช้ :
  • ก่อนเปิดใช้ : วัคซีนชนิดน้ำ แช่ในอุณหภูมิ +2ถึง +8 องศาเซลเซียส
  • หลังใช้ : เปิดใช้แล้วเก็บไว้ได้ไม่เกิน 8 ชั่วโมง รักษาอุณหภูมิ+2ถึง +8 องศาเซลเซียส
ปฏิกิริยาที่พบ
ปวด บวม แดงเฉพาะที่ อาจเกิด systemic reaction เช่น ไข้ ชัก ซึม ตัวอ่อนปวกเปียกไม่ตอบสนอง (HHE) ปฏิกิริยาแพ้ anaphylaxis และ arthus like reaction (บวม ปวม แดงลามมาถึงข้อศอก) เกิดจากการได้รับบาดทะยักมากเกินไป
การขึ้นของภมูิคุ้มกัน
ภูมิคุ้มกันต่อคอตีบและบาดทะยักจะเกิดขึ้นหลังได้รับวัคซีนเข็มแรก 2 สัปดาห์และเมื่อได้รับครบตามกำหนด ภูมิคุ้มกันต่อคอตีบและบาดทะยักจะอยู่ได้นาน 10 ปี ส่วนประสิทธิภาพในการป้องกันไอกรนนั้นมีอยู่ร้อยละ 75-90
ชื่อวัคซีน: หัด หัดเยอรมัน คางทูม (MMR)

VACCINE_MMR

ประเภทวัคซีน
วัคซีนเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ เชื้อคางทูมสายพันธุ์ Jeryl Lynn
รูปแบบวัคซีนและขนาดที่ใช้
  1. MMR ชนิดผงแห้ง ผสมน้ำยาทำละลาย 0.5 มล. ชนิด 1 dose ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง
  2. MR ชนิดผงแห้งขวดละ 10 doses ผสมน้ำยาทำละลาย 5 มล. ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง
ระยะเวลาที่ใช้
ปัจจุบันตามแผนงาน EPI ให้แก่เด็กทุกคนจำนวน 2 ครั้ง ครั้งแรกเริ่มที่อายุ 9 เดือน และครั้งที่ 2 อายุ 2 ปี ครึ่ง
ข้อห้าม
ห้ามให้ใน…..
  • ในหญิงตั้งครรภ์เพราะจะเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ เมื่อฉีดในหญิงวัยเจริญพันธุ์ควรคุมกำเนิดหลังจากนั้นนาน 28 วัน หรือถ้าให้ในหญิงตั้งครรภ์โดยบังเอิญก็ไม่ได้เป็นเหตุผลในการทำแท้ง
  • ในคนที่แพ้ neomycin หรือ gelatin แบบ anaphylaxis
  • ในเด็กที่ปลูกถ่ายไขกระดูกหรือเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ
  • เด็กทิ่ติดเชื้อ HIV ที่มี CD4 น้อยกว่าร้อยละ 15 หรือมี clinical stage C
  • ผู้ที่ได้รับ steroid ขนาดสูง (2mg/kg/day) มาแล้วมากกว่า 14 วัน
  • ผู้ที่ได้รับเลือดหรือผลิตภัณฑ์จากเลือด
  • ผู้ที่แพ้ไข่ขาวแบบรุนแรง
  • ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำหรือบกพร่องอย่างมากจากโรค การรับการรักษาที่ทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำ ยกเว้นกลุ่ม B cell defect
การเก็บรักษาวัคซีนก่อนและหลังเปิดใช้ :
  • ก่อนเปิดใช้ : เก็บไว้ที่อุณหภูมิ +2ถึง +8 องศาเซลเซียส ให้พ้นแสง น้ำยาทำละลายสามารถเก็บที่อุณหภูมิห้องได้ แต่เมื่อจะนำไปใช้ต้องทำให้ตัวทำละลายมีอุณหภูมิ +2ถึง +8 องศาเซลเซียสโดยการนำมาแช่ตู้เย็นอย่างน้อย 1 วัน
  • เปิดใช้แล้ว : เก็บไว้ที่อุณหภูมิ +2ถึง +8 องศาเซลเซียส ให้พ้นแสง ได้ไม่เกิน 6 ชั่วโมง
ปฏิกิริยาที่พบ
อาจมีปฎิกิริยาเฉพาะที่ ผื่นลมพิษ บริเวณที่ฉีด มีไข้ 5 -12 วันหลังฉีด หรือมีเกล็ดเลือดต่ำ
การขึ้นของภมูิคุ้มกัน
เข็มที่ 1 สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ 85-95 % ถ้าฉีดเมื่ออายุ 9 เดือน หากฉีดเมื่ออายุ 12 เดือนจะมีภูมิคุ้มกัน 63-95 % เข็มที่ 2 สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันป้องกันโรคได้ 96-99%
ชื่อวัคซีน: โปลิโอชนิดกิน (OPV) และชนิดฉีด (IPV)

VACCINE_OPVIPV

ประเภทวัคซีน
OPV เชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ (bivalent OPV type 1,3) IPV เชื้อตาย (type 1,2,3)
รูปแบบวัคซีนและขนาดที่ใช้
  1. OPV เป็นวัคซีนแบบน้ำ ใช้หยอดทางปาก ปริมาณ 2-3 หยด ขนาดบรรจุ 10 หรือ 20 doses/ขวด
  2. IPV เป็นวัคซีนแบบน้ำ ใช้ฉีดเข้าชั้นกล้ามเนื้อปริมาณ 0.5 มล. ขนาดบรรจุ 1 หรือ 10 doses/ ขวด นอกจากนี้ IPV ยังอยู่ในรูปแบบของวัคซีนรวมอีกด้วย
ระยะเวลาที่ใช้
ปัจจุบันตามแผนงาน EPI ให้หยอด bivalent OPV จำนวน 5 ครั้ง อายุ 2,4,6,18 เดือนและ 4 ปี สามารถให้เพิ่มในช่วงมีการรณรงค์ได้ ไม่มีผลเสียใดๆ เมื่อหยอดแล้วเด็กอาเจียนออกมาภายใน 5-10 นาทีให้หยอดซ้ำได้แต่ถ้าอาเจียนอีกให้รอ dose ถัดไป สามารถหยอด OPV ในเด็กที่ติดเชื้อ HIV ได้ สำหรับ IPV ให้ตอนอายุ 4 เดือน
ข้อห้าม
  • ห้ามหยอด OPV ในคนที่มีภูมิคุ้มกันต่ำจากโรค จากยาและการรักษาต่างๆ หรือเด็กที่มีคนในบ้านมีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ ให้ใช้ IPV แทน ห้ามหยอดในหญิงตั้งครรภ์และเด็กที่รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล ให้ใช้ IPV แทนได้
  • สำหรับ IPV ห้ามให้ในคนที่มีภาวะแพ้รุนแรงต่อยาปฏิชีวนะ streptomycin, neomycin และ polymycin B
การเก็บรักษาวัคซีนก่อนและหลังเปิดใช้ :
  • ก่อนเปิดใช้ : วัคซีน OPV แช่ในช่องแช่แข็ง หากนำออกมาให้บริการแต่ไม่ได้เปิดใช้งานสามารถนำกลับไปแช่ในช่องแช่แข็งซ้ำได้ 5-10 ครั้ง เมื่อเปิดใช้แล้วเก็บไว้ที่อุณหภูมิ +2 ถึง +8 องศาเซลเซียสได้ไม่เกิน 8 ชั่วโมง
  • สำหรับ IPV เก็บไว้ที่อุณหภูมิ +2 ถึง +8 องศาเซลเซียส เปิดใช้แล้วเก็บไว้ที่อุณหภูมิ +2ถึง +8 องศาเซลเซียสได้ไม่เกิน 8 ชั่วโมงเช่นเดียวกัน
ปฏิกิริยาที่พบ
OPV มีผลข้างเคียงน้อยมาก ส่วน IPV อาจมีปฎิกิริยาเฉพาะที่ ปวด บวม แดงหลังฉีดมีไข้
การขึ้นของภมูิคุ้มกัน
เมื่อได้รับ OPV 3 doses จะมีภูมิคุ้มกันต่อทั้ง 3 type ร้อยละ 99 สร้างภูมิคุ้มกันเฉพาะที่ที่เยื่อบุลำคอและลำไส้ ส่วน IPV จะเกิดภูมิคุ้มกันในกระแสเลือด
ชื่อวัคซีน: ไข้สมองอักเสบเจอี (JE) ชนิดเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์และเชื้อตาย

VACCINE_JE_inactivated VACCINE_JE_Livejeex3

ประเภทวัคซีน รูปแบบวัคซีนและขนาดที่ใช้

ปัจจุบันวัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี มีใช้ทั้งชนิดเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์และเชื้อตาย มีรายละเอียด ดังนี้

  1. วัคซีนชนิดเชิ้อตาย (inactivated vaccine) เพาะเลี้ยงเชื้อในสมองหนู หรือเรียกกันว่า mouse brain JE มี 2 สายพันธุ์คือ Nagayama ขนาดบรรจุ 1 มล.ต่อขวด ใช้ 0.5 มล.ต่อ dose ในเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี และใช้ปริมาณ 1 มล./dose ในเด็กอายุมากกว่า 3 ปี และสายพันธุ์ Bejing ผลิตโดยองค์การเภสัชกรรมขนาดบรรจุ 0.5 มล.ต่อขวด ใช้ 0.25 มล.ต่อ dose ในเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี และใช้ปริมาณ 0.5 มล./dose ในเด็กอายุมากกว่า 3 ปี
  2. วัคซีนชนิดเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ (live-attenuated vaccine) เพาะเลี้ยงใน cell เพาะเลี้ยงในหนูแฮมเตอร์ มีชื่อการค้าคือ CD JE VAX และอีกชนิดหนึ่งผลิตโดยใช้เทคนิควิศวพันธุกรรม เป็น chimeric vaccine มีชื่อการค้าว่า IMOJEV วัคซีนในกลุ่มนี้ผลิตเป็นผงแห้งและมีน้ำยาทำละลาย ใช้แบบ single dose ( ปัจจุบันมีการนำวัคซีน JE เชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ที่มีชื่อทางการค้าว่า THAIJEV ซึ่งมีขนาดบรรจุ 2cc เมื่อผสมแล้วใช้ได้ 4 doses )
ระยะเวลาที่ให้
วัคซีนชนิดเชื้อตายให้ 3 ครั้งที่อายุ 1 ปี 1 ปี 1 เดือน(เข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรกอย่างน้อย 2-4 สัปดาห์) และ 2 ปีครึ่ง
ส่วนวัคซีนเชื้อเป็นให้ 2 ครั้ง ที่อายุ 1 ปี และ 2 ปีครึ่ง (ให้ห่างกันอย่างน้อย 3-12 เดือน)
ข้อห้าม
ในหญิงตั้งครรภ์ ในผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ เจ็บป่วยเฉียบพลัน
การเก็บรักษาวัคซีนก่อนและหลังเปิดใช้ :
  • เก็บไว้ที่อุณหภูมิ +2ถึง +8 องศาเซลเซียส ให้พ้นแสง ในเชื้อเป็นที่มีน้ำยาทำละลายสามารถเก็บที่อุณหภูมิห้องได้
  • แต่เมื่อจะนำไปใช้ต้องทำให้ตัวทำละลายมีอุณหภูมิ +2ถึง +8 องศาเซลเซียสโดยการนำมาแช่ตู้เย็นอย่างน้อย 1 วัน เปิดใช้แล้วเก็บไว้ได้ 8 ชั่วโมง
ปฏิกิริยาที่พบ
อาจพบปวด บวมเฉพาะที่ หรือผื่นลมพิษได้
การขึ้นของภมูิคุ้มกัน
เมื่อได้รับวัคซีนชนิดเชื้อตายจำนวน 2 ครั้งจะมีภูมิคุ้มกันร้อยละ 94 และมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคได้ร้อยละ 80-91 หากได้รับครบ 3 ครั้งจะมีภูมิคุ้มกันร้อยละ 90-100 จะคงอยู่ 3-5 ปี หากไม่ได้อยู่ในพื้นที่เสี่ยงก็ไม่จำเป็นต้องฉีดกระตุ้น และทั้งสองสายพันธุ์เกิดประสิทธิภาพไม่แตกต่างกัน ในส่วนของวัคซีนเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์หลังฉีดครั้งแรกประมาณ 3 เดือนระดับภูมิคุ้มกันจะขึ้นร้อยละ 95 และเมื่อได้ครั้งที่ 2 ระดับภูมิคุ้มกันจะขึ้นร้อยละ 100 ภูมิคุ้มกันจะคงอยูได้นาน
ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับการให้วัคซีน JE

เนื่องจากปัจจุบันบางพื้นที่อยู่ในระยะเปลี่ยนผ่านของการใช้วัคซีนชนิดเชื้อตายมาเป็นชนิดเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ ทำให้บางครั้งมีการให้วัควีนทั้งสองกลุ่มในผู้รับบริการคนเดียวกัน โดยมีหลักการ ดังนี้

  • หากเริ่มเข็มแรกด้วยวัคซีนเชื้อตาย และจะมาฉีดต่อด้วยเชื้อเป็น สามารถทำได้ โดยให้ได้รับเชื้อเป็นอีก 2 ครั้งห่างกัน 3-12 เดือน
  • หากเริ่มด้วยวัคซีนเชื้อเป็น จะมาต่อด้วยวัคซีนเชื้อตายก็สามารถทำได้ โดยฉีดอีก 1 เข็มเท่านั้นโดยต้องห่างจากครั้งแรก 6-12 เดือน

 

8EPI_foundamental

»