นางพอพิศ วรินทรเสถียรและคณะ (เรียบเรียง)
ผศ.พัชรพร แก้ววิมลคณะพยาบาลศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ (ผู้จัดทำสื่อ)
E-Learning » Chapter 4

4.5.2.3 การจัดทำทะเบียนการให้วัคซีนสำหรับนักเรียน (งานอนามัยโรงเรียน)
อ่าน 6741 ครั้ง

ปัจจุบันให้ตรวจสอบประวัติการได้รับวัคซีนครบชุด โดยพิจารณาการได้รับวัคซีนดังต่อไปนี้ BCG, HB, dT, OPV, MR/MMR, LAJE, IPV

ดังนั้น การเก็บตกวัคซีนจึงต้องปรับให้ครอบคลุมวัคซีนทุกชนิดดังที่กล่าวมา

การเตรียมฐานข้อมูลและการบันทึกข้อมูล

  1. สถานบริการประสานกับ รร. ก่อนวันให้วัคซีน เพื่อขอรายชื่อเด็ก ป. 1 และนักเรียนหญิงป.5 และป. 6 ทุกคน พร้อมเลข ID 13 หลัก
  2. นำรายชื่อเด็กมาจัดทำทะเบียนการให้วัคซีน เพื่อคาดประมาณการใช้วัคซีนและเตรียมบันทึกในวันที่ให้วัคซีน
  3. ตรวจสอบประวัติการได้รับวัคซีนในอดีตของเด็ก ป.1 เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในการให้วัคซีน BCG, MMR. dT,HB, OPV, LAJE,IPV
  4. จัดทำฐานข้อมูลเด็กนักเรียนชั้น ป. 1 และนร.หญิงป. 5 และป. 6 ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ผ่านฐานข้อมูลตามมาตรฐานของ กยผ.
  5. ตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนในการ key in ลงในโปรแกรมคอมพิวเตอร์เปรียบเทียบกับรายชื่อผู้รับวัคซีนในเด็กนักเรียน

หมายเหตุ
การลงบันทึกข้อมูลของนักเรียน จำเป็นต้องลงบันทึกชนิดของวัคซีน ครั้งที่ให้ Lot No. และลำดับขวด เพื่อให้ตรวจสอบได้ในกรณีที่เกิดอาการภายหลังได้รับวัคซีน กรณีที่เด็กขาดเรียนควรนัดมารับวัคซีนในถัดไปที่เหมาะสมและลงบันทึกตามจริงเท่านั้น

ประโยชน์ของการจัดทำทะเบียนรายงานการให้บริการวัคซีนในนักเรียน

  1. ใช้ประเมินผลวามครอบคลุมการได้รับวัคซีนของแต่ละโรงเรียน
  2. จำนวนเด็กที่รับวัคซีนสามารถนำมาคำนวณอัตราการสูญเสียวัคซีนแต่ละชนิดได้
  3. จำนวนเด็กที่ได้รับวัคซีนแต่ละชนิด ใช้เป็นฐานในการคำนวณอัตราการเกิดอาการภายหลังได้รับวัคซีนได้