ทั้งนี้การป้องกันโรคในคนควรจัดการไม่ให้รับเชื้อโรคได้ผ่านช่องทางต่าง ๆดังนี้
- ระบบทางเดินหายใจหรือทางอากาศ (Airborne infection) โดยการไอ การจามในระยะต่ำกว่า 3 ฟุต คนที่อยู่ใกล้กัน ขณะพูดคุยอาจสูดเอาฝอยละอองเข้าไปในทางเดินหายใจจึงเกิดการติดเชื้อโรคได้ได้แก่ เชื้อโรคคอตีบ ไอกรน นอกจากนี้เชื้อโรคบางชนิดเช่นหัด สุกใสสามารถลอยแพร่กระจายเชื้อไปในอากาศได้ไกลกว่าเพราะเป็นฝอยละอองขนาดเล็ก
- ระบบทางเดินอาหารหรือทางอาหาร (Foodborne infection) สามารถติดต่อได้จากอาหาร น้ำดื่มที่มีการปนเปื้อนเชื้อโรค เมื่อรับประทานจึงเกิดภาวะเจ็บป่วย เช่น บิด โปลิโอ อหิวาตกโรคเป็นต้น
- ทางผิวหนัง (Per-cutaneous infection) อาจเกิดจากการสัมผัสโดนเชื้อโรคโดยตรงหรือร่างกายมีบาดแผลจากของมีคมสกปรก ทิ่มแทงอาจทำให้เกิดโรคบาดทะยัก หรืออาจเกิดจากมีแมลงและสัตว์เป็นพาหะเช่น ยุง แมลง กัดจนทำให้เกิดการรับเชื้อก่อให้เกิดโรคไข้มาลาเรีย ไข้เลือดออกเป็นต้น โอกาสการรับเชื้อทางผิวหนังอาจเกิดจากการใช้ของร่วมกัน เช่น ร้านเสริมสวย การใช้มีดโกนใบเดิมในผู้รับบริการกลุ่มเสี่ยง ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อก่อโรค HIV ไวรัสตับอักเสบบี
- ทางเยื่อบุต่าง ๆ (Mucous membrane infection) โดยไม่จำเป็นว่าต้องมีบาดแผลหรือไม่ก็ได้ เช่นโรคตาแดง สามารถติดต่อกันได้โดยการสัมผัสเชื้อและติดต่อผ่าน เยื่อบุตาเป็นต้น
- ทางระบบอวัยวะสืบพันธ์หรือติดต่อทางเพศสัมพันธุ์ (Sexual intercourse infection) เช่น โรคไวรัสตับอักเสบบี โรคHIV
- ทางเลือดและรก (Trans-placental infection) หมายถึง การส่งผ่านเชื้อจากมารดาสู่ทารกในครรภ์ผ่านทางรก