All posts by AllAll

อุปกรณ์ควบคุมกำกับอุณหภูมิ

Vaccine Vial Monitor (VVM) เป็นเครื่องหมายที่ทำจากวัสดุไวต่อความร้อนชนิด irreversible อยู่บนฉลากของขวดวัคซีน ซึ่งใช้ชี้บ่งว่าวัคซีนสัมผัสกับความร้อนมาในช่วงระยะเวลาตั้งแต่ออกจากโรงงานผลิตวัคซีนจนถึงผู้ใช้การเปลี่ยนแปลงของเครื่องหมาย VVM จะเตือนให้เจ้าหน้าที่ทราบว่าวัคซีนได้สัมผัสกับอุณหภูมิที่สูงเกินไปจนมีผลต่อคุณภาพของวัคซีนโดยสังเกตการเปลี่ยนแปลงของสีในสี่เหลี่ยมว่าเข้มขึ้นหรือไม่

ถ้าสีในสี่เหลี่ยมมีความเข้มเท่ากับหรือมากกว่าสีในวงกลมแสดงว่าวัคซีนได้สัมผัสกับความร้อนมามากจนทำให้วัคซีนเสื่อมสภาพและไม่สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้

แต่ VVM ไม่ได้ชี้บ่งเรื่องการสัมผัสกับอุณหภูมิที่เย็นจัด (freezing temperature)

vialmonitor

ภาพการแปลผลเครื่องหมาย Vaccine Vial Monitor หรือ VVM

Freeze watch (FW)เป็นอุปกรณ์ชนิด irreversible ที่ใช้ในการกำกับติดตามอุณหภูมิในระหว่างการจัดเก็บหรือขนส่งวัคซีนซึ่งมี 2 ชนิดคือชนิด 0°C  หรือ -4°C เพื่อเตือนว่าวัคซีนสัมผัสกับอุณหภูมิที่เย็นจัด โดยวาง FW ไว้ในตู้เย็น หีบเย็นหรือกระติกวัคซีน ถ้าFW สัมผัสกับอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 0°C(Subzero temperature) สีน้ำเงินที่อยู่ในกระเปาะจะแตกออกมาเปื้อนแผ่นสีขาวที่รองอยู่ (ดังภาพ) FW จึงเป็นอุปกรณ์ที่ชี้บ่งว่าวัคซีนอาจกระทบกับจุดเยือกแข็ง

แต่การตัดสินใจว่าจะใช้วัคซีนที่ไวต่อความเย็นจัดนั้นได้หรือไม่ ต้องทำการทดสอบคุณภาพของวัคซีนโดยการทำ Shake test

 

3502nffdbd

Data loggerคืออุปกรณ์ที่ใช้บันทึกอุณหภูมิ ซึ่งมีโปรแกรมที่ใช้กำหนดการทำงานโดยมี Sensor ที่ใช้วัดและบันทึกอุณหภูมิในช่วงประมาณ -40oC ถึง +85oC และสามารถตั้งค่าการทำงานให้บันทึกอุณหภูมิได้เป็นวินาที/นาที/ชั่วโมง สามารถบันทึกอุณหภูมิได้เป็นร้อย/พัน/หมื่นครั้ง (แล้วแต่รุ่น) แสดงผลเป็นกราฟ วัน/เวลา และอุณหภูมิที่บันทึกและข้อมูลทางสถิติ เช่น ค่าสูงสุด ต่ำสุด และค่าเฉลี่ย

3503oiuyhb

เทอร์โมมิเตอร์(Thermometer)คืออุปกรณ์ที่ใช้วัดอุณหภูมิ ซึ่งควรเป็นชนิดที่วัดอุณหภูมิได้ทั้งค่าบวกค่าลบ (ประมาณ -30 ถึง +50 °c) ได้แก่ Bimetal vaccine thermometer, Dial thermometer และStem thermometerโดย Bimetal vaccine thermometer และ Dial Thermometer จะมีความแม่นยำ (accuracy) ลดลงเมื่อเวลาผ่านไป จึงควรนำไปสอบเทียบ(calibration)โดยหน่วยงานมาตรฐาน ปีละ 1 ครั้ง เช่น ศูนย์วิศวกรรมการแพทย์ หรือเทียบเคียงกับเทอร์โมมิเตอร์ที่สอบเทียบแล้ว หรือกับStem Thermometer โดยการนำไปวางไว้ด้วยกันเพื่อวัดอุณหภูมิทั้งในและนอกตู้เย็น ซึ่งควรทำอย่างน้อยปีละครั้ง

3504hgfj

                      Dial Thermometer                             Stem Thermometer

Digital Thermometerเป็นเทอร์โมมิเตอร์ที่มีจอแสดงค่าที่วัดได้ บางรุ่นจะแสดงอุณหภูมิสูงสุด/ต่ำสุด และมีสัญญาณเตือน (alarm) ที่ดังขึ้นตามค่าที่ตั้งไว้ บางรุ่นมีprobeเป็นสายยาวที่นำไปใส่ในตู้เย็นแล้วสามารถอ่านอุณหภูมิจากหน้าจอของเทอร์โมมิเตอร์ที่วางอยู่นอกตู้เย็นได้

3506trfdcb3507fsfdgfd3509sfdzvxv

 

ขั้นตอนการให้บริการ

การซักประวัติและการประเมินคัดกรองผู้รับบริการรวมถึงการสังเกตอาการก่อนให้วัคซีนเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก จากบทรู้ชนิด-รู้ติดตาม ท่านจะเห็นว่าวัคซีนแต่ละชนิดมีข้อห้ามในการให้บริการผู้รับบริการแต่ละรายอาจไม่ได้มีความพร้อมที่จะรับวัคซีนได้ทุกราย โดยเฉพาะการมารับวัคซีนชนิดเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์มีข้อจำกัดหลายอย่าง  การให้วัคซีนในแต่ละครั้งของการมารับบริการไม่เพียงแต่พิจารณาที่ช่วงอายุ แต่ยังต้องคำนึงถึงความพร้อมด้านอื่นๆด้วย มิเช่นนั้นอาจเกิดอันตรายแก่ผู้รับบริการได้และอาจมีผลต่อการสร้างระดับภูมิคุ้มกันในร่างกายได้

ข้อพึงระวัง ปกติในการรับวัคซีนของเด็กต่ำกว่า 4 ปี มักจะมารับที่โรงพยาบาล ซึ่งในการปฏิบัติตามมาตรฐานเชื่อว่าผู้ให้บริการจะมีการซักประวัติหรือตรวจร่างกายเบื้องต้นอยู่แล้ว แต่ที่น่าเป็นห่วงคือการฉีดวัคซีนในโรงเรียนหรือในชุมชน ที่ผู้ให้บริการอาจจะละเลยการซักประวัติและการประเมินคัดกรอง ดำเนินการแต่เพียงการขอความยินยอมเท่านั้น

StephowtoGetService

การเตรียมวัสดุ อุปกรณ์

การเตรียมอุปกรณ์สำหรับการบริการ ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ของสถานบริการแต่ละแห่ง

ที่สำคัญควรมีเก้าอี้หรือเตียงในการให้บริการ

มีเข็มเบอร์ 21 เพื่อใช้ในการดูดวัคซีน เข็มเบอร์ 25 ความยาวหนึ่งนิ้วเพื่อใช้ฉีดเข้าชั้นกล้ามเนื้อ เข็มเบอร์ 26 หรือ 27 ความยาวครึ่งนิ้ว เพื่อใช้ในการฉีดวัคซีนเข้าชั้นใต้ผิวหนังและชั้นในหนัง conditioning ice-pack และฉนวนกั้นสำหรับวางวัคซีน นอกจากนี้ควรมีสำลีแอลกอฮอล์เช็ดทำความสะอาด และสำลีแห้งสำหรับกดบริเวณที่ฉีด อุปกรณ์ที่ใช้ในการฉีดวัคซีนควรเป็นของที่ไร้เชื้อ (sterile) มี alcohol gel ใช้ทำความสะอาดมือก่อนและหลังให้บริการในแต่ละราย ภาชนะสำหรับทิ้งขวดวัคซีนเพียงพอที่จะแยกชนิดได้ และทิ้งอุปกรณ์การให้วัคซีน

การเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบด้วย

  • โต๊ะ เก้าอี้ เตียง(ถ้ามี)
  • ผ้าสะอาดปูบนโต๊ะเพื่อวางวัคซีน
  • กล่องเข็มและ syringe
  • กระปุกสำลีแอลกอฮอล์ กระปุกสำลีแห้ง
  • กระปุกใส่ forceps ทั้งนี้ขึ้นกับอุปกรณ์ที่ใช้ในแต่ละสถานบริการ
  • พลาสเตอร์
  • กระติกวัคซีน สำหรับสำรองวัคซีน
  • ซองน้ำแข็งที่เริ่มละลาย(Conditioning icepack)
  • กล่องสำหรับเก็บขวดวัคซีนที่ใช้แล้ว
  • กล่องหรือถังพลาสติกหนาใช้ทิ้งเข็มที่ใช้แล้ว
  • ถังขยะทั่วไป
  • Alcohol gel

stuffsandtoolss

หลักการเตรียมสถานที่ให้บริการวัคซีน

การเตรียมสถานที่ที่ให้บริการในหน่วยบริการและนอกพื้นที่เช่นในโรงเรียน หลักการที่สำคัญมีดังนี้

ในคลินิกหรือในหน่วยบริการ ควรแยกออกจากคลินิกเด็กป่วย

หากจำเป็นต้องใช้สถานที่เดียวกัน ควรจัดคลินิกเด็กสุขภาพดีและเด็กป่วยคนละช่วงเวลา การให้บริการควรมีสถานที่ที่สามารถซักประวัติ และตรวจร่างกาย ประเมินภาวะสุขภาพในกรณีที่เกิดความไม่แน่ใจในภาวะสุขภาพของผู้รับบริการ ควรมีห้องหรือมีมุมให้บริการวัคซีนเป็นสัดส่วน

ทางเข้าออกควรเป็นคนละทางเพื่อลดความกลัวของเด็กรายต่อๆไป และควรมีห้องหรือสถานที่ที่ให้ผู้รับบริการรอสังเกตอาการก่อนกลับบ้าน

การจัดบริการนอกหน่วยบริการ ควรให้ความสำคัญกับสถานที่ตั้งหน่วยให้บริการ หากมีห้องหรือมีความเป็นสัดส่วน มีการระบายอากาศได้ดี ไม่ควรให้มีแสงแดดส่องถึง มีที่ล้างมือได้สะดวก หรืออาจใช้ alcohol gel แทนการล้างมือด้วยน้ำสบู่ได้ ที่สำคัญควรเป็นที่ที่สามารถเก็บรักษาอุณหภูมิของวัคซีนได้ การจัดสถานที่ควรจัดเตรียมเก้าอี้ให้ผู้รับบริการนั่งขณะได้รับวัคซีน ทั้งนี้เนื่องจากผู้รับบริการอาจมีความกลัวจนเป็นลมหมดสติ และล้มลงทำให้เกิดอันตรายได้

prepareda

การเตรียมกลุ่มเป้าหมาย

ในการให้บริการวัคซีน สิ่งที่ผู้ปฏิบัติงานต้องเตรียมคือ การเตรียมและติดตามกลุ่มเป้าหมาย การเตรียมสถานที่ที่ให้บริการ และการเตรียมวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อใช้ในการให้บริการ

การเตรียมกลุ่มเป้าหมาย – ในการให้บริการวัคซีนแต่ละครั้งหน่วยบริการจำเป็นต้องประมาณการจำนวนผู้รับบริการเพื่อจะนำมาคำนวณการใช้วัคซีนแต่ละชนิด

ในการให้บริการวัคซีนแต่ละครั้งหน่วยบริการจำเป็นต้องประมาณการจำนวนผู้รับบริการเพื่อจะนำมาคำนวณการใช้วัคซีนแต่ละชนิด

ปกติกลุ่มเป้าหมายหลักคือเด็กทุกกลุ่ม (กลุ่มวัยก่อนเรียน วัยเรียน) รวมเด็กต่างด้าวที่ย้ายตามพ่อแม่มาทำงานในพื้นที่และแรงงานต่างชาติ และหญิงมีครรภ์ทุกราย ต้องประมาณการการใช้วัคซีนจากกลุ่มที่นัดมารับวัคซีน กลุ่มที่ walk in เข้ามาโดยไม่ได้นัดเฉลี่ยในรอบ 3 เดือน และกลุ่มที่ขาดนัดในครั้งก่อนและมารับบริการในครั้งนี้ รวมทั้งการนำอัตราการสูญเสียวัคซีนตามขนาดบรรจุของวัคซีนแต่ละชนิดและกลุ่มที่ให้บริการมาคำนวณการใช้วัคซีนเพื่อให้มีการประมาณการการใช้วัคซีนได้อย่างถูกต้อง จำนวนขวดวัคซีนที่ต้องการใช้ในการเบิกแต่ละครั้ง

ratelosevaccine

คำนวณโดย
จำนวนประชากรกลุ่มเป้าหมาย * การสูญเสียวัคซีน (WMF) /จำนวนโด้สต่อขวดของวัคซีน

ตัวอย่างการคำนวณ

ท่านออกอนามัยโรงเรียนให้บริการฉีดวัคซีน dT แก่นักเรียน ป.6 จำนวน 120 ราย
จงคำนวณจำนวนวัคซีน dT ที่ต้องการใช้ 

120*1.11/10 เท่ากับ 13.32
ดังนั้นจำเป็นต้องเบิกวัคซีนเท่ากับ 14 ขวด

เพื่อให้เพียงพอสำหรับผู้รับบริการที่ขาดนัด หน่วยบริการจำเป็นต้องมีระบบติดตาม เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับวัคซีนตามช่วงอายุอย่างครบถ้วนลดปัญหาความครอบคลุมของการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคไม่ถึงเกณฑ์ในพื้นที่ได้

หากความครอบคลุมไม่ถึงเกณฑ์ที่ควรจะเป็นก็อาจส่งผลถึงการเกิด herd immunity หรือภูมิคุ้มกันในชุมชนได้ ทำให้คนส่วนน้อยที่ยังไม่ได้รับวัคซีนไม่เกิดโรคเมื่อมีผู้ป่วยในชุมชนจะเกิดผลดีกับโรคที่ติดต่อจากคนสู่คนและไม่มีแหล่งรังโรคอื่นนอกเหนือจากในคน เช่น หัด หัดเยอรมัน คางทูม เป็นต้น

Targets

ใครมีสิทธิที่จะนำวัคซีนเข้าสู่ร่างกายตามขอบเขตวิชาชีพ

แพทย์ และพยาบาลวิชาชีพที่มีใบประกอบวิชาชีพที่ไม่หมดอายุ การให้วัคซีนตามแผนงาน EPI พยาบาลสามารถทำได้โดยกฎหมายวิชาชีพคุ้มครอง สำหรับวัคซีนทางเลือกต้องอยู่ภายใต้การรักษาของแพทย์ ในกรณีที่หน่วยงานมอบหมายให้วิชาชีพอื่นทำหน้าที่ให้วัคซีน ต้องมีการนิเทศงานอย่างใกล้ชิดเพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดและมีการร้องเรียนเกี่ยวกับมาตรฐานการบริการในอนาคต

       

ซองน้ำแข็ง

ซองน้ำแข็ง(Icepack)คือซองพลาสติกมีฝาปิดที่ใส่น้ำถึงระดับที่บ่งชี้และนำไปแช่แข็ง ในการแช่แข็งให้เรียงIcepackในแนวตั้งให้ฝาปิดอยู่ด้านบน โดยมีช่องว่างระหว่างแผ่น เพื่อให้แข็งตัวได้ทั่วถึง ในกรณีที่ความสูงของช่องแช่แข็งไม่มากพอ ให้วางตั้งบนสันด้านข้างแทน ก่อนนำมาใช้บรรจุวัคซีนที่ไวต่อความเย็นจัด องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ทำ

Conditioning Icepack

คือการนำ Icepack ออกมาวางในอุณหภูมิห้องในช่วงเวลาหนึ่ง เพื่อทำให้น้ำแข็งที่อยู่ใน Icepack มีอุณหภูมิกลับมาที่  0 องศาเซลเซียส ดังนี้

  • วางIcepack บนโต๊ะ/เคาน์เตอร์  เรียงเป็นแถวเดี่ยว  แต่ไม่ควรมากกว่า 2 แถว
  • วางIcepack ให้มีพื้นที่ว่างรอบๆ แต่ละก้อนประมาณ 5 ซม.
  • เขย่าIcepack แต่ละก้อนทุก 2-3 นาที รอจนกระทั่งมีน้ำจำนวนเล็กน้อย ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงในอุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส และใช้เวลาน้อยลงในอุณหภูมิที่สูงกว่า น้ำแข็งในIcepack จะมีอุณหภูมิกลับมาที่ 0 องศาเซลเซียส ทันทีที่น้ำแข็งเริ่มเคลื่อนไหวได้เล็กน้อย

ในระหว่างให้บริการห้ามนำวัคซีนไปวางบน Icepackโดยตรง

กระติกวัคซีน

กระติกวัคซีน (Vaccine carrier) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการขนส่งหรือเก็บวัคซีนไว้ชั่วคราวเหมือนหีบเย็น แต่มีขนาดเล็กกว่า และเก็บความเย็นได้ไม่นานเท่าหีบเย็น ควรเก็บความเย็นได้นานอย่างน้อย24 ชั่วโมงและควรมีIcepackที่มีขนาดพอดีที่จะจัดเรียงลงในกระติกโดยไม่เคลื่อนไปมา

3405qwdrs

3406fyjjk

การจัดเรียงวัคซีนลงในกระติกหรือหีบเย็น

  1. วางIcepackที่เริ่มละลายแล้ว (Conditioned icepack) ในด้านข้างทั้ง 4 ด้านและด้านล่างในกรณีที่เป็นหีบเย็นหรือกระติกขนาดใหญ่
  2. ห่อวัคซีนแล้ววางไว้กลางกระติกและวางIcepackบนห่อวัคซีนก่อนปิดฝาในกรณีที่เป็นหีบเย็นหรือกระติกขนาดใหญ่
  3. ปิดฝาให้สนิทและวางไว้ในที่ร่ม
  4. ถ้ามีแผ่นฟองน้ำ(foam pad)วางใต้ฝาปิด จะช่วยกันความร้อนได้ และถ้ามีขวดวัคซีนที่เปิดใช้แล้วให้เสียบขวดวัคซีนไว้ที่แผ่นฟองน้ำ จะทำให้วัคซีนไม่ปนเปื้อนเมื่อวางแช่อยู่ในน้ำที่ละลายจากIcepackบริเวณก้นกระติก ในกรณีที่แผ่นฟองน้ำชำรุด ให้ตัดฟองน้ำ/ โฟมใส่แทน

conditioned Icepack

3408huyghj

3410plmnbvcds

3411edcfrtg3412rfvbgt

การดูแลหีบเย็นและกระติกวัคซีน

  • หลังการใช้งาน ทำความสะอาดแล้วเปิดฝาวางทิ้งไว้ให้แห้ง เพื่อป้องกันเชื้อรา
  • เก็บในที่ร่ม เพื่อป้องกันการแตกร้าว
  • ห้ามโยนหรือเคาะหีบเย็น/กระติก และนำสิ่งของอื่นไปวางทับ เพราะจะทำให้แตกได้ไม่ควรผึ่งแดด เพราะอาจทำให้กรอบและแตกร้าว

หีบเย็น

หีบเย็น (Vaccine cold box)หรือกระติกวัคซีนใบใหญ่เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เก็บวัคซีนในระหว่างการขนส่ง หรือเมื่อมีไฟฟ้าดับนาน/ตู้เย็นเสีย หรือในระหว่างการละลายน้ำแข็งในช่องแช่แข็ง ซึ่งมีขนาดใหญ่พอที่จะใช้ในการขนส่งวัคซีนในแต่ละเดือน โดยมีIcepackวางไว้โดยรอบทุกด้านและควรเก็บความเย็นได้ อย่างน้อย24 ชั่วโมง

3403poijuyh           การจัดเก็บวัคซีนในหีบเย็น

ตู้เย็น

ตู้เย็น คลังวัคซีนระดับอำเภอและสถานบริการส่วนใหญ่ใช้ตู้เย็นบ้าน (Domestic Refrigerator) ที่ต้องได้มาตรฐานอุตสาหกรรม(มอก.) จะเป็นตู้เย็นฝาประตูทึบแสงชนิด 2 ประตูแยกช่องแช่แข็ง (freezing compartment) และช่องธรรมดา (refrigerator compartment) หรือเป็นฝาเดียวขึ้นกับการใช้งาน และปัจจุบันมีตู้เย็นบ้านที่มีช่องแช่แข็งด้านล่าง เมื่อซื้อมาใช้งานให้ศึกษาระบบการกระจายความเย็นของแต่ละชนิดให้ดี เพื่อจะได้จัดวางวัคซีนได้ถูกต้อง

3401dtfftyd

ภาพตู้เย็นสำหรับเก็บรักษาวัคซีน

ตู้เย็นที่ใช้เก็บเก็บวัคซีน ต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง

  1. มีเครื่องหมาย มอก.
  2. ถ้าเป็นตู้เย็นที่อยู่ในคลังของ รพ. ต้องเป็นชนิดฝาประตูทึบและมี 2 ประตูแยกช่องแช่แข็งและช่องแช่เย็น มีความจุอย่างน้อย 18 คิว เพราะต้องสต็อกวัคซีนให้ลูกข่ายอย่างน้อย 1.5-2 เดือนรวมทั้งต้องเผื่อพื้นที่สำหรับเก็บวัคซีนที่ใช้ในการรณรงค์ด้วย เช่น วัคซีนนักเรียน และวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ถ้าเป็น รพ.สต. มีความจุน้อยกว่าได้คือประมาณ  5 คิวขึ้นไปที่สามารถเก็บวัคซีนได้อย่างน้อย 1 เดือน
  3. รักษาอุณหภูมิได้คงที่ตลอดปี และเก็บความเย็นไว้ได้นาน โดยถ้าไฟฟ้าดับควรเก็บความเย็นได้อย่างน้อย 3 ชั่วโมง
  4. อายุการใช้งานของตู้เย็นที่ใช้เก็บวัคซีนไม่ควรเกิน 10 ปี ถ้าเกินควรซื้อเครื่องใหม่ ซึ่งจะทำความเย็นและเก็บรักษาได้ดีกว่า

ตู้เย็นประตูกระจกใสไม่แนะนำให้ใช้ เพราะ แสงจะส่องผ่านไปทำลายวัคซีนบางชนิดได้ นอกจากนี้เวลาไฟฟ้าดับหรือปลั๊กตู้เย็นหลุด  อุณหภูมิภายในตู้เย็นจะเพิ่มขึ้นเร็วมากเพราะไม่มีฉนวนป้องกัน

การดูแลตู้เย็นที่ใช้เก็บวัคซีน

  1. ปรับอุณหภูมิในช่องแช่แข็งให้อยู่ใน -15 ถึง -25 องศาเซลเซียส
  2. ปรับอุณหภูมิในช่องธรรมดาให้อยู่ในช่วง +2 ถึง +8 °C และเพื่อป้องกันไม่ให้วัคซีนที่ไวต่อความเย็นจัดแข็งตัว ควรปรับ Thermostat ให้ได้ +2°C ถึง +4 °C ในช่วงเวลาที่เย็นที่สุด
  3. ตรวจสอบอุณหภูมิทั้ง 2 ช่องวันละ 2 ครั้งเช้า-เย็น บันทึกทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ
  4. ใส่Icepackในช่องแช่แข็ง และขวดใส่น้ำมีฝาปิดวางไว้ชั้นล่างให้เต็มช่องแช่ผักเพื่อเพิ่มอายุความเย็น ( Cold life) ทำให้เก็บรักษาความเย็นได้คงที่ในกรณีเปิดตู้เย็นบ่อย และกรณีไฟดับ
  5. ติดตั้งในที่แสงแดดส่องไม่ถึง และให้ผนังตู้ทั้ง 3 ด้านห่างจากฝาผนังห้องหรืออุปกรณ์อื่นไม่ต่ำกว่า 6 นิ้ว เพื่อให้ตู้เย็นระบายความร้อนได้ดี
  6. ทำความสะอาดขอบยางและป้องกันไม่ให้เชื้อราเกาะ โดยใช้น้ำอุ่นผสมน้ำสบู่เช็ดถูให้ทั่วใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดจนสะอาดใช้ผ้าแห้งเช็ดน้ำออกให้แห้งแล้วใช้ผงฟูหรือเบกกิ้งโซดาผสมกับน้ำเปล่า เช็ดตามขอบตู้เย็นอีกครั้ง เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดเชื้อราหรือเอาผ้าชุบน้ำส้มสายชูเช็ดถูบริเวณขอบยางที่เป็นรา
  7. ติดตั้งในบริเวณที่มีระบบไฟฟ้าสำรองมาถึงและเสียบปลั๊กและใช้เทปพันปลั๊กให้แน่น
  8. ถ้ามีน้ำแข็งเกาะหนาในช่องแช่แข็งเกิน 5 มม. ควรละลายน้ำแข็งออกให้หมดเพราะน้ำแข็งจะไปอุดกั้นไม่ให้ความเย็นไหลลงช่องธรรมดา

การจัดเรียงวัคซีนในตู้เย็น ควรจัดเก็บวัคซีนไว้ในตะกร้าโปร่งเพื่อให้ความเย็นไหลเวียนได้ทั่วถึง วัคซีนที่ไวต่อแสงให้ใส่ไว้ในกล่องหรือภาชนะที่ป้องกันแสง และวางวัคซีนที่ไวต่อความเย็นจัดไว้ตรงกลางของช่องธรรมดา (refrigerator compartment) พร้อมเทอร์โมมิเตอร์ เพื่อกำกับติดตามอุณหภูมิไม่ให้ต่ำกว่า +2°C และติดป้ายชื่อที่ชั้นวางวัคซีนเพื่อป้องกันการหยิบวัคซีนผิด  ดังภาพ

3402qwery

ภาพแสดงการเก็บรักษาวัคซีนในตู้เย็น