ดร.อัญชลี ศิริพิทยาคุณกิจและคณะ (เรียบเรียง)
ผศ.ดร.ปรีย์กมล รัชนกุล คณะพยาบาลศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ (ผู้จัดทำสื่อ)
E-Learning » Chapter 7

7.7 การเตรียมการให้บริการเพื่อรองรับกรณีเกิดอาการภายหลังได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
อ่าน 3719 ครั้ง

การเตรียมการให้บริการเพื่อรองรับกรณีเกิดอาการภายหลังได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค  โดยปกติผู้ได้รับวัคซีนอาจมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นได้หลังจากได้รับวัคซีน ส่วนใหญ่มักจะเกิดอาการผิดปกติภายใน 1 สัปดาห์ แต่ในวัคซีนบางชนิด เช่น วัคซีนป้องกันวัณโรค (BCG) อาจเกิดอาการผิดปกติภายใน  2-3 เดือน หรือนานถึง 1 ปี การเตรียมการควรกระทำ ดังนี้

  1. การกำหนดลำดับที่ขวดวัคซีนชนิดบรรจุหลายโด๊ส (Multi-dose vaccine vials)
  2. การบันทึก Lot number และลำดับที่ขวดวัคซีน ก่อนให้บริการ เจ้าหน้าที่ต้องเขียนหมายเลขกำกับขวดวัคซีนที่จะเปิดใช้ให้เรียบร้อย และจดบันทึกหมายเลข Lot number และเลขที่ขวดวัคซีนแต่ละชนิดที่จะใช้ในทะเบียน/ บัญชีผู้รับบริการงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
  3. การเก็บวัคซีนส่งตรวจวิเคราะห์คุณภาพ เจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการวัคซีนควรเก็บขวดวัคซีนทุกชนิดที่เปิดใช้แล้วไว้ในตู้เย็นหลังให้บริการไว้เป็นเวลาอย่างน้อย 7 วัน ภายใต้ระบบลูกโซ่ความเย็นที่ได้มาตรฐาน (อุณหภูมิ +2 ถึง +8˚C) และอยู่ในสภาพ ที่สะอาดปราศจากเชื้อ เพื่อสามารถนำวัคซีนส่งตรวจเมื่อเกิดอาการข้างเคียงที่รุนแรง
  4. การเฝ้าระวังและสอบสวนอาการ AEFI ผู้ให้บริการจึงต้องทำการ เฝ้าระวังโดยสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นภายหลังได้รับวัคซีนเป็นเวลานาน 30 นาที เพื่อค้นหาผู้ป่วย AEFI ได้ตั้งแต่แรกเริ่ม จึงจะสามารถให้การดูแลรักษาได้อย่างถูกต้องและทันเวลา