ผศ.ดร.ปรีย์กมล รัชนกุลและคณะ (เรียบเรียง)
ผศ.ดร.ปรีย์กมล รัชนกุล คณะพยาบาลศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ (ผู้จัดทำสื่อ)
E-Learning » Chapter 6

6.15.3 การนำวัคซีนเข้าสู่ร่างกายโดยการฉีดเข้าฉีดเข้าใต้ผิวหนัง(Subcutaneous)
อ่าน 26830 ครั้ง

การนำวัคซีนเข้าสู่ร่างกายโดยการฉีดเข้าฉีดเข้าใต้ผิวหนัง(Subcutaneous)

ใช้กับวัคซีนที่ไม่ต้องการให้ดูดซึมเร็วเกินไป เพราะอาจเกิดปฏิกิริยารุนแรง และเป็นวัคซีนที่ไม่มีสารดูดซับ (adjuvant) เช่น วัคซีนรวมหัด คางทูม และหัดเยอรมัน (MMR) วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี (JE)  เป็นต้น

เป็นการนำวัคซีนผ่านเข้าไปใน fatty tissue อยู่ใต้ชั้นผิวหนังและอยู่เหนือชั้นกล้ามเนื้อ ปกติแล้ว subcutaneous tissue  พบได้ทั่วร่างกาย สำหรับเด็กเล็ก บริเวณที่นิยมให้วัคซีน คือ บริเวณหน้าขา และถ้าเป็นเด็กอายุมากกว่า 1 ปี หรือผู้ใหญ่ก็จะใช้บริเวณ upper outer triceps ของแขน ก่อนฉีดเช็ดบริเวณผิวหนังด้วยแอลกอฮอล์ พื้นที่ประมาณเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 – 3 นิ้ว  แล้วจึงแทงเข็มเข้าไป โดยไม่จำเป็นต้องทดสอบก่อนดันวัคซีนเข้าไป (no aspiration)

ขนาดเข็มและความยาวของเข็ม : ใช้เข็มเบอร์ 26หรือ 27 ความยาว ½ นิ้ว

เทคนิค

ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ดึงผิวหนังขึ้นมา จะรู้สึกได้ว่าจับในส่วนของชั้นไขมันขึ้นมา  แทงเข็มทำมุม 45 องศา และดันวัคซีนเข้าไป เมื่อฉีดเสร็จให้ใช้สำลีแห้งกดเบาๆบริเวณที่ฉีดสักครู่ หรือใช้สำลีแห้งติดพลาสเตอร์ บอกผู้ปกครองว่าทิ้งไว้สักครู่ก็สามารถดึงออกได้