ประเภทที่ 1 ) กรณีจัดทำในสมุดหรือกระดาษ
- บันทึกรายชื่อกลุ่มเป้าหมายเป็นรายหมู่บ้าน
- บันทึก “ว/ด/ป ที่ได้รับวัคซีน” กำกับทุกครั้ง ไม่ว่าจะได้รับวัคซีนจากสถานบริการใด การจัดทำข้อมูลต้องเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ
- ควรคำนึงปฏิทินชุมชนเสมอ เช่น ฤดูตัดอ้อย มักมีชุมชนย้ายถิ่นฐานเข้ามารับจ้าง การเบิกวัคซีนย่อมมีปริมาณเพิ่มขึ้น
ข้อสังเกต
- ข้อมูลเด็ก ให้เรียงลำดับตามเดือนที่เด็กเกิด เทคนิคการลงบันทึกข้อมูลสำหรับเด็ก ควรเว้นบรรทัดในการลงข้อมูลเผื่อมีเด็กเกิดจากที่อื่นย้ายมาอยู่ในพื้นที่เราจะได้แทรกข้อมูลได้ในเดือนนั้น ๆ ทันที สามารถตรวจสอบความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนได้ไม่ผิดพลาด
- ข้อมูลหญิงมีครรภ์ ให้เรียงตามวันครบกำหนดคลอด
ตัวอย่างการบันทึกรายละเอียดสำหรับเด็กที่ได้รับวัคซีน
สีแดง คือ เด็กได้รับวัคซีนจากที่อื่น
สีน้ำเงิน คือได้รับวัคซีนจากสถานบริการของเรา
ดินสอ เขียนเพื่อแสดงนัดมารับวัคซีนครั้งต่อไป
ประเภทที่ 2 กรณีลงบันทึกในระบบคอมพิวเตอร์ผ่านฐานข้อมูลตามมาตรฐาน กองยุทธศาสตร์และแผนงาน (กยผ.)
- จัดทำฐานข้อมูลเด็กอายุ 0-6 ปี และหญิงมีครรภ์ทุกคนที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบในแฟ้ม person
- บันทึกรายละเอียดข้อมูลการให้วัคซีนแก่กลุ่มเป้าหมายทุกคนที่มารับบริการตามข้อกำหนดของ กยผ.
** บันทึกสถานที่รับวัคซีนให้ตรงกับความจริง
Key in รับบริการจาก “ที่นี่” หรือ “ที่อื่น”
Print out รายงานการติดตามการได้รับวัคซีนของกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่รับผิดชอบเก็บไว้และจัดทำข้อมูลให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ