ในการให้บริการวัคซีน สิ่งที่ผู้ปฏิบัติงานต้องเตรียมคือ การเตรียมและติดตามกลุ่มเป้าหมาย การเตรียมสถานที่ที่ให้บริการ และการเตรียมวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อใช้ในการให้บริการ
การเตรียมกลุ่มเป้าหมาย – ในการให้บริการวัคซีนแต่ละครั้งหน่วยบริการจำเป็นต้องประมาณการจำนวนผู้รับบริการเพื่อจะนำมาคำนวณการใช้วัคซีนแต่ละชนิด
ในการให้บริการวัคซีนแต่ละครั้งหน่วยบริการจำเป็นต้องประมาณการจำนวนผู้รับบริการเพื่อจะนำมาคำนวณการใช้วัคซีนแต่ละชนิด
ปกติกลุ่มเป้าหมายหลักคือเด็กทุกกลุ่ม (กลุ่มวัยก่อนเรียน วัยเรียน) รวมเด็กต่างด้าวที่ย้ายตามพ่อแม่มาทำงานในพื้นที่และแรงงานต่างชาติ และหญิงมีครรภ์ทุกราย ต้องประมาณการการใช้วัคซีนจากกลุ่มที่นัดมารับวัคซีน กลุ่มที่ walk in เข้ามาโดยไม่ได้นัดเฉลี่ยในรอบ 3 เดือน และกลุ่มที่ขาดนัดในครั้งก่อนและมารับบริการในครั้งนี้ รวมทั้งการนำอัตราการสูญเสียวัคซีนตามขนาดบรรจุของวัคซีนแต่ละชนิดและกลุ่มที่ให้บริการมาคำนวณการใช้วัคซีนเพื่อให้มีการประมาณการการใช้วัคซีนได้อย่างถูกต้อง จำนวนขวดวัคซีนที่ต้องการใช้ในการเบิกแต่ละครั้ง
คำนวณโดย
จำนวนประชากรกลุ่มเป้าหมาย * การสูญเสียวัคซีน (WMF) /จำนวนโด้สต่อขวดของวัคซีน
ตัวอย่างการคำนวณ
ท่านออกอนามัยโรงเรียนให้บริการฉีดวัคซีน dT แก่นักเรียน ป.6 จำนวน 120 ราย
จงคำนวณจำนวนวัคซีน dT ที่ต้องการใช้
120*1.11/10 เท่ากับ 13.32
ดังนั้นจำเป็นต้องเบิกวัคซีนเท่ากับ 14 ขวด
เพื่อให้เพียงพอสำหรับผู้รับบริการที่ขาดนัด หน่วยบริการจำเป็นต้องมีระบบติดตาม เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับวัคซีนตามช่วงอายุอย่างครบถ้วนลดปัญหาความครอบคลุมของการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคไม่ถึงเกณฑ์ในพื้นที่ได้
หากความครอบคลุมไม่ถึงเกณฑ์ที่ควรจะเป็นก็อาจส่งผลถึงการเกิด herd immunity หรือภูมิคุ้มกันในชุมชนได้ ทำให้คนส่วนน้อยที่ยังไม่ได้รับวัคซีนไม่เกิดโรคเมื่อมีผู้ป่วยในชุมชนจะเกิดผลดีกับโรคที่ติดต่อจากคนสู่คนและไม่มีแหล่งรังโรคอื่นนอกเหนือจากในคน เช่น หัด หัดเยอรมัน คางทูม เป็นต้น